สื่อในการประชาสัมพันธ์ ทำไมจึงต้องเลือกใช้สื่อ ?

เราสามารถใช้สื่อให้เกิดประโยชน์ได้ ดังนี้

1. เพื่อเป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ แจ้งความ เสนอข่าว ประกาศ ให้การศึกษา ให้ข้อมูล ให้ความรู้ ให้ความเข้าใจ ฯลฯ แก่กลุ่มเป้าหมาย เพื่อจูงใจและเกิดความร่วมมือสนับสนุนการดำเนินงานของ องค์กรหรือสถาบัน

2. เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ สร้างเสริมความรู้ความเข้าใจอันดี และสร้างความสามัคคี ความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

3. เพื่อเป็นการสื่อสาร รับฟังการสื่อสารสะท้อนกลับ (feed back) ของกลุ่มเป้าหมาย ในรูปผลการสำรวจ การทำประชามติ ฯลฯ เพื่อปรับปรุงแก้ไขการดำเนินการ

4. สร้างความนิยม ภาพลักษณ์และความบันเทิงแก่ประชาชน

ลักษณะของการสื่อสารที่ดี จุดสำคัญในการเลือกใช้สื่อ

1. ใช้สื่อที่มีการสื่อสารแบบสองทาง (Two-way Communication )

2. มีระเบียบแบบแผน (Organize) การสื่อสารที่ถูกต้อง

3. การสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายมีความต่อเนื่อง (Continue) ไม่เงียบหายหรือละเลยการสื่อสารถึง

4. ต้องเป็นการสื่อสารที่มีมากกว่าหนึ่งแบบ (Multi Activity)ไปยังกลุ่มเป้าหมาย อาทิ ช่องทางการรับรู้ของมนุษย์ที่ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5

ประเภทของสื่อที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์
1. สื่อบุคคล หรือ สื่อประเภทการพูด (Spoken Word) การพูดทั่ว ๆ ไป การติดต่อพูดคุยสนทนา การปราศรัย การกล่าวสุนทรพจน์ การให้โอวาท การอบรม การสอนงาน การพูดโทรศัพท์ การบรรยาย การอภิปราย การประชุมชี้แจง การพบปะ พูดคุย เยี่ยมเยียน ข่าวลือ และการพูดปากต่อปาก

ข้อดีของสื่อประเภทคำพูด ได้แก่ ราคาถูก มีการสื่อสารสองทางที่ใกล้ชิดที่สุด เหมาะกับเรื่องที่สั้นๆ ง่ายๆ

ข้อเสียของสื่อประเภทคำพูด ได้แก่ การสื่อสารมีลักษณะแคบเข้าหากลุ่มเป้าหมายได้น้อย มีข้อจำกัดสำหรับผู้ที่มีปัญหาที่การพูด กับการฟัง ผู้ฟังอาจเข้าใจผิดได้ การพูดที่เป็นพิธีการยิ่งมาก ผู้ฟังยิ่งรับสารได้ยาก

2. สื่อสิ่งพิมพ์ (The Printed Words)
2.1 แผ่นปลิวหรือใบปลิว (leaflets) เน้นที่ราคาต้นทุนต่ำที่สุด ประโยชน์ใช้สอยจำกัดที่เวลา เหมาะแก่งานระยะสั้น เหมาะสมกับการชี้แจงกำหนดการหรือขั้นตอนสั้นๆ เข้าใจง่าย
2.2 แผ่นพับ (Folders) มีลักษณะการใช้งานให้ยาวนานขึ้นกว่า แผ่นปลิว ข้อมูลเน้นความคงทนถาวรมากขึ้น มีเนื้อที่ซึ่งเพื่มรายละเอียดทั้งเนื้อหาและภาพให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น
2.3 หนังสือเผยแพร่เล่มเล็ก ๆ (Pamphlets) มีความคล้ายกับแผ่นผับ แต่จะมีหน้า มีเนื้อหามากกว่า สีสันสวยงามกว่าและเนื้อหาภายในมีความคงทนถาวรมากกว่า งบประมาณสูงกว่า
2.4 เอกสารแนะนำประกอบ (Brochures) เป็นอีก 1 สื่อ ที่มีความคล้ายกับ 4 สื่อข้างต้น แต่สำหรับรูปแบบที่มีความคล้ายกันนี้ โบรชัวร์ จะให้ภาพลักษณ์ที่ดีกว่า เหมาะแก่งานที่ให้ความสำคัญสูง เพราะโบรชัวร์จะใช้กระดาษคุณภาพสูง มีสีสันที่สวยงาม มีการวาง layout ที่ดี มีราคาต่องชิ้นแพงที่สุด ดังนั้นอาจกล่าวได้ สื่อสิ่งพิมะพ์ 2.1 - 2.4 นั้น มีความคล้ายกันด้านการใช้งานแต่เลือกใช้ตามลำดับความสำคัญของงาน และงบประมาณด้วย
2.5 หนังสือพิมพ์ (Newspaper) เน้นที่ข่าวสาร ข้อมูลข้อเท็จจริง กระแสสังคม เนื้อหาที่ลงภายในหนังสือพิมพ์มีความน่าเชื่อมากกว่า 4 สื่อข้างต้น และใช้งบประมาณสูงกว่าด้วย
2.6 หนังสือเวียน (Circle Letters) คือ เอกสารต่างๆ ที่ีเป็นการส่งข่าวสารภายในหน่วยงาน หรือองค์กร โดยจะมีเจ้าหน้าที่ทำหน้าที่ส่งเอกสารดังกล่าวเวียนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อผุ้หนึ่งรับทราบได้รับเอกสารแล้วก้จะลงชื่อว่ารับทราบแล้ว และส่งต่อไปยังผู้อื่นต่อไป
2.7 จดหมายข่าว (Newsletter) มีลักษณะคล้ายแผ่นปลิว แต่ไใม่ได้นำไปแจกทั่วไป แต่จัดทำเพื่อแจกให้แก่คนในองค์กรได้ติดตามข่าวสารต่างๆ ได้ หรือจัดส่งให้กลุ่มสมาชิก หรือวางไว้เพื่อให้ผู้มาติดต่อองค์กรได้อ่านได้ทราบคุณงามความดี หรือความเคลื่อนไหวขององค์กร ส่วนใหญ่แล้วหากองค์กรใดเลือกทำสื่อประชาสัมพันธ์ชิ้นนี้ ก็จะไม่ทำวารสาร หรือจุลสารองค์กร
2.8 จดหมายติดต่อ (Correspondence) คือ จดหมายจริงๆ ที่มีเนื้อหาที่แตกต่างตามวัตถุประสงค์ขององค์กรไปยังองค์กร หรือกลุ่มคนเป้าหมาย อาทิ การขอความร่วมมือ การนัดหมาย การแจ้งข่าวสารไปยังสื่อมวลชน เป็นต้น
2.9 การจัดทำเอกสารช่วยจำ และแจกแจงงาน (Bulletin) คือการจัดทำบอร์ดข่าวสารของแผนกหรือหน่วยงานเฉพาะกลุ่ม เพื่อลำดับความจำในการทำงาน และการแจกแจงงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายของแต่ละบุคคล
2.10 หนังสือต่าง ๆ (Books) ขององค์กร เป็นการเก็บรายละเอียดต่างๆ ด้านการทำงาน โปรเจ็คโครงการ หรือข้อมูลเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่งขององค์กร โดยจัดทำเป็นรูปเล่มให้เกิดความคงทนถาวรด้านเนื้อหา และสามารถอ้างอิง สืบค้นได้
2.11 หนังสือเล่มเล็ก (Booklets) บุ๊คเล็ทนี้จะมีลักษณะใกล้เคียงกับโบรชัวร์มาก จะมีความแตกต่างกันที่วัตถุประสงค์ โบรชัวร์จะมีเนื้อหาที่เป็นงานเฉพาะลักษณะใดลักษณะหนึ่งขององค์กรที่จัดขึ้น (Campaign) แต่ บุ๊คเล็ทจะมีเนื้อหาที่เป็นองค์กรในภาพรวม หรือแผนก หรือศูนย์ ขององค์กรก็ได้
2.12 แผ่นโฆษณา (Poster) โปสเตอร์มีความโดดเด่นในการสร้างความสนใจแก่ผู้ที่พบเห็น เพราะโปสเตอร์ที่ดีจะมีการใช้ภาพที่น่าสนใจ การจัดวางการเรียงคำตัวอักษร พื้นที่ได้เหมาะสม ง่ายต่อการเข้าใจ สามารถใช้สีต่างๆ ได้ โปสเตอร์จะเหมาะกับการใช้เพื่อรณรงค์ให้ผู้รับสารเกิดความสนใจ ให้ข้อมูล การแสดงถึงขั้นตอน (Infographic) และกำหนดการ สถานที่กิจกรรมได้
2.12.5 Infographics Poster การแสดงอินโฟกราฟิกบนโปสเตอร์
2.13 หนังสือฉบับพิเศษ (Newspaper Supplement) การจัดทำวาระพิเศษลงในหนังสือพิมพ์ การจัดทำวาระพิเศษนี้ไม่ค่อยเหมาะกับองคืกรทั่วไป แต่จะเหมาะกับองค์กรที่มีสื่อ หนังสือพิมพ์ หรือ จุลสาร นิตยสารในมือ เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก
2.14 หนังสือภาพ (Photo Books) เป็นการจัดเก็บเรียบเรียงภาพจากกิจกรรมขององคืกรในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ส่วนมากจะนิยมทำเมื่อถึงวันสิ้นปี ซึ่งหนังสือภาพนี้ไม่เหมาะที่จะแจกจ่ายแก่บุคคลทั่วไป แต่จัดทำขึ้นเพื่อมอบให้แก่สมาชิก ผู้ถือหุ้น หรือเก้บไว้ให้แขกที่มาเยี่ยมชมองค์กรได้เห็น การจัดทำมีค่าใช้จ่ายสูง
2.15 นิตยสาร/วารสาร (Journals Magazine) การจัดทำนิตยสารหรือวารสาร มีเป้าหมายที่ต้องการสื่อสารกับประชาชนภาพนอกองค์กรเป็นหลักดังนั้น องค์กรจะต้องทำหน้าที่ในการหาข้อมูลข่าวสารที่เป็นที่น่าสนใจของกลุ่มเป้าหมาย การจัดทำวารสาร นิตยสารนี้ใช้งบประมาณสูงมาก และเกือบทั้งหมดหากทำในนามขององค์กรเพื่อสร้างภาพลักษณ์ก็จะเป็นนิตยสารแจกฟรี
2.16 หนังสือคู่มือ (Hand Books) หนังสือคู่มือมีไว้สำหรับเป็นตัวช่วยให้แก่ลูกค้าขององค์กรใช้งานกับสินค้า หรือบริการใดๆ จากองค์กรใช้งานได้ถูกต้อง ในปัจจุบันการจัดทำหนังสือคู่มือนี้ผลิตเป็นสิ่งพิมพ์น้อยมาก แต่จะถูกจัดทำเป็นแอพลิเคชั่นให้แก่ลูกค้า
2.17 แฟ้มหรือหนังสือคู่มือสำหรับแจกผู้สื่อข่าว (Press Kits) เป็นสิ่งสำคัญยิ่งในปัจจุบัน การให้ข้อมูลแก่สื่อมวลชนที่มาร่วมงานแถลงข่าว หรือเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ หมดยุคของการปริ้นท์เอกสารแจกเปล่าๆ อย่างสิ้นเชิง ปัจจุบันการให้ Press kits นี้ จะมีการดีไซน์อย่างสวยงาม และมีข้อมูลให้แก่ผู้สื่อข่าวอย่างหลากหลายสื่อ ตามแต่ผู้สื่อข่าวจะสะดวก การจัดทำ Press kits นี้ถือเป็นการวัดความสามารถของนักประชาสัมพันธ์ และสามารถสื่อถึงภาพลักษณ์ ความมีรสนิยมขององค์กรอีกด้วย
2.18 หนังสือรายงานประจำปี (Year Books, Annual Reports) เป้นการรวบรวมผลงาน การบริหารจัดการทุกๆ ภาคส่วนขององค์กร หรือบริษัทเป็นรายงานประจำปีเพื่อส่งแก่ผู้ถือหุ้นทุกคน และเก็บเป็นแฟ้มข้อมูลประจำปีอีกด้วย การรจัดทำหนังสือรายงานประจำปีนี้นอกจากจะอัดแน่นด้วยข้อมูลแล้วยังต้องมีความสวยงามให้สอดคล้องกับภาพลักษณ์ขององค์กรอีกด้วย

ข้อดีของการใช้สื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ ผู้รับสารสามารถอ่านได้ตามใจตามเวลาที่ต้องการ สามารถอ่านซ้ำทวนความเข้าใจได้ เนื่องจากมีการเตรียมการดี จึงทำให้มีความสวยงามสามารถสร้างแรงจูงใจได้ง่าย เนื้อหาก็มีความมั่นคงอีกด้วย

ข้อจำกัดของการใช้สื่อสิ่งพิมพ์ มีค่าใช้จ่ายที่สูง และการผลิตการเตรียมเนื้อหาก็ค่อนข้างนาน ไม่ใช่ทุกคนจะรับสารได้เพราะการอ่านเป็นการเข้าถึงได้ยาก แม้แต่การขนส่ง และการรับสารในพื้นที่ห่างไกลก็เป็นปัจจัยที่ทำให้การประชาสัมพันธ์ด้วยสิ่งพิมพ์ผิดพลาด

3. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ / ประเภทแสงและเสียง (light and sound)

ยุคปัจจุบันนี้คงไม่มีใครไม่รู้จักสื่ออิเล็กทรอนิกส์แต่ละประเภท ลักษณะสื่อประเภทนี้จะมีประเภทเสียง ประเภทภาพ ประเภททั้งภาพและเสียง และสื่ออิเล็กทรอนิกที่เป็นมัลติมีเดีย ดังนี้

3.1 สื่อประเภทเสียง ได้แก่ วิทยุกระจายเสียง รับฟังผ่านเครื่องรับวิทยุ ผู้ส่งสารส่งผ่านคลื่นต่างๆ แผ่นเสียง แผ่นซีดีเพลง ที่เป็นซอฟท์แวร์ และ โทรศัพท์ ยังมีแอพพลิเคชั่นต่างๆ บนเครื่องสมาร์ทโฟน

3.2 สื่อประเภทภาพ ได้แก่ สไลด์มัลติวิชั่น

3.3 สื่อประเภททั้งภาพและเสียง อันดับ 1 ที่เป็นที่รู้จักและนิยมคือ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ วีดิทัศน์ ซอฟท์แวร์ได้แก่ วีซีดี ดีวีดี บลูเรย์ แอพพลิเคชั่นต่างๆ บนเครื่องสมาร์ทโฟน

3.4อุปกรณ์โสตทัศน์อื่น ๆ ที่เป็นเครื่องมือประกอบ กับการนำเสนอของนักประชาสัมพันธ์ เช่น เครื่องคอมพิวเตอรื โปรเจคเตอร์ ต่างๆ เป็นต้น

ข้อดีของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทวิทยุ ได้แก่ สามารถเข้าถึงผู้รับสารได้ดี ราคาเครื่องรับถูกและง่ายถึงผู้รับได้รวดเร็ว ผู้รับสารรู้สึกใกล้ชิดกับผู้ส่ง ให้ความบันเทิงได้ดี ข่าวสารกระจายได้รวดเร็วได้เร็วและกว้างไกล เนื้อหาสามารถสร้างแรงจูงใจได้เป็นอย่างดี

ข้อจำกัดของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทวิทยุ ได้แก่ เนื้อหาข้อมูลเป็นเพียงเสียงจึงไม่คงทน ซ้ำยังต้องอาศัยเครื่องกลในการสื่อสารด้วย ผู้รับสารขณะฟังก็ต้องมีสมาธิเพื่อสร้างจินตนาการ คิดตามได้

ข้อดีของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทโทรทัศน์ ได้แก่ สามารถสร้างแรงจูงใจง่ายเพราะ เสนอได้ทั้งภาพและเสียง ลักษณะภาพที่แสดงสามารถทำให้เข้าใจง่าย ผู้รับสารเกิดการจดจำได้ดีกว่าวิทยุ เนื้อหาข้อมูลถึงผู้รับได้รวดเร็ว และสามารถให้ข้อมูลเนื้อหาที่หลากหลายด้วยสีสันสวยงามสมจริง ทำให้สามารถสร้างภาพลักษณ์ได้ดีกว่า

ข้อจำกัดของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทโทรทัศน์ ได้แก่ การมีความยาก ความซับซ้อนในการผลิต การนำเสนอ ถูกจำกัดด้วยพื้นที่หน้าจอโทรทัศน์ และมีค่าใช้จ่ายสูงในการผลิตและเผยแพร่

4. สื่อประเภทกิจกรรม (activities)

สื่อประเภทนี้คือการจัดกิจกรรมที่ต้องการให้กลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่จัดด้วย โดยเน้นความสนุกสานและเนื้อหาที่ต้องการสอดแทรก ในปัจจุบันสื่อกิจกรรมนี้เป็นที่นิยมมากเพราะนอกจากประชาชนเป้าหมายจะชื่นชอบกับการร่วมกิจกรรมแล้วองค์กรยังได้ภาพลักษณ์ที่เชื่อมโยงกับสังคมอีกด้วย

4.1 สื่อกิจกรรมที่เกี่ยวกับศาสนา

เป็นลักษณะการจัดกิจกรรมที่ใช้ภาพเชื่อมโยงถึงศาสนาในพื้นที่ หรือสังคมนั้นๆ อาทิ การจัดขบวนรถขบวนเทียนพรรษาเข้าร่วมประเพณีวันเข้าพรรษา เป็นต้น

4.2 สื่อกิจกรรมที่เกี่ยวกับการศึกษา

เป็นการจัดใช้สื่อที่มีความสอดคล้องกับกิจกรรมเชื่อมโยงกับการศึกษา

4.3 สื่อกิจกรรมเกี่ยวกับท้องถิ่น

เป็นการใช้สื่อผ่านการรับรู้ของของในท้องถื่น ความชื่นชอบในการละเล่น ประเพณีท้องถิ่น กีฬา หรือการพัฒนาท้องถิ่น เป็นต้น

4.4 สื่อกิจกรรมขององค์กรคิดขึ้นเอง

หมายถึงการที่องค์กรคิดกิจกรรมต่างๆ ขององค์กรเองและนำเสนอออกไป การใช้สื่อประเภทนี้ก็ไม่อ้างอิงกับข้อที่กล่าวมาข้างต้นแต่จะมาดูว่า สื่อใดที่จะสอดคล้องกับกิจกรรมที่จัดขึ้น ดังนั้นการใช้สื่อในหัวข้อนี้จะค่อนข้างเป็นอิสระ ข้อพึงคำนึงคือ ความสอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กรนั่นเอง

5. สื่อประเภทอื่น ๆ

สื่อประเภทนี้ คือ สื่อที่เกิดขึ้นตามสมัยนิยม เป็นกระแสที่ประชาชนสนใจและติดตาม สามารถสร้างความแปลกใหม่ประหลาดใจ ความประทับใจอยู่ในใจของประชาชนเป้าหมายได้เป็นอย่างดี เหมาะสมกับการเปิดตัวองค์กร เปิดตัวสินค้า หรือ แบรนด์แอมบาสเดอร์ (brand ambassador) ขององค์กร สื่อประเภทนี้มีความไม่แน่นอนบางชิ้นก็นิยมอยู่นาน แต่บางชิ้นก็สามารถหมดความนิยมได้อย่างรวดเร็ว

5.1 แผ่นป้ายโฆษณา (Build board)
5.2 ป้ายผ้า (Banner)
5.3 เว็บไซต์ (Web Site)
5.4 ของแจก/ของที่ระลึก (Gift / Souvenir)
5.5 บอร์ดประชาสัมพันธ์ (Bulletin Board)
5.6 การตัดข่าวหนังสือพิมพ์ (Press Clipping)
5.7 กล่องแสดงความคิดเห็น (Suggestion Box)

จากการศึกษาถึงสื่อ 5 ประเภท ทำให้สามารถสรุปลักษณะความแตกต่างของสื่อที่ต่างกัน ได้ 3 ข้อ คือ

1. สื่อมีความแตกต่างในด้านความรวดเร็ว (Speed)

2. ความคงทนถาวรของสื่อ (Permanence)

3. การเปิดโอกาสให้ผู้รับมีส่วนร่วมได้ (Audience Participation)

การเลือกใช้สื่ออย่างนักประชาสัมพันธ์

เมื่อได้ศึกษาแล้วพบว่าสื่อทั้ง 5 ประเภท ต่างมีลักษณะที่โดดเด่นแตกต่างกัน ดังนั้นการเลือกใช้ในวาระโอกาสต่างๆ ก็ควรจะมีหลักเกณฑ์ในการเลือกเช่นกัน ซึ่งมีแนวทางดังต่อไปนี้

1. เหมาะสมตรงกับกลุ่มเป้าหมาย สามารถแพร่กระจายไปยังผู้รับสารจำนวนมาก

2. มีลักษณะยืดหยุ่น ปรับตัวเข้าได้กับกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่มหรือมากกลุ่ม

3. ประหยัดค่าใช้จ่าย

4. รวดเร็วทันต่อเหตุการณ์

5. สามารถนำไปใช้สื่อสารผ่านช่องทางต่าง ๆ ได้หลายประเภท เพื่อให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายได้อย่างทั่วถึง

6. มีข้อจำกัดของเวลาและ เนื้อที่ น้อยที่สุด

2 สิ่งควรคำนึงหลังได้สื่อที่ต้องการใช้งานแล้ว

และเมื่อเราสามารถเลือกใช้สื่อได้แล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ควรจะต้องจำให้ดีคือ การใช้สื่อที่เลือกนั้น ต้องคำนึงถึง 2 สิ่งด้วยกัน คือ

1. การย้ำหรือทำซ้ำบ่อยๆ ติดต่อกันไป จะช่วยให้เกิดความน่าสนใจยิ่งขึ้น คงทนถาวรมากขึ้น เพื่อเน้นย้ำสาร (Repeating) แน่นอนว่าการใช้ความถี่ให้ประชาชนเป้าหมายได้เห็นข้อมูลขององค์กรผ่านสื่อหลายครั้งเป็นเรื่องที่ดี แต่ผลงานวิจัยหลายแห่งในต่างประเทศพบว่า การที่ผู้รับสารได้รับสารซ้ำๆ และมีความถี่มากๆ ในระยะเวลาประมาณ 1 เดือน เป็นเวลาที่เพียงพอแล้ว หากผู้ส่งสารยังใช้ความถี่เท่าเดิมในการสื่อสารกับประชาชนเป้าหมาย จะส่งผลให้การรับสารน้อยลง และมีทัศนคติที่เป็นลบต่อสารและองค์กรได้ ซึ่งนั่นก็คือ มนุษย์ไม่ชอบความจำเจ และพูดบอกอะไรซ้ำๆ นั่นเอง

2. การให้โอกาสผู้รับสารได้มีส่วนร่วม (Participation) ในสื่อที่องค์กรได้จัดขึ้นอย่างเต็มที่ อาทิ ถ้าจัดเป็นรายการตอบปัญหาสุขภาพชีวิต การให้ผู้ฟังแสดงความคิดเห็นในรายการ หรือร่วมตอบปัญหา หรือ การเสนอโจทย์เพื่อแก้ไขนั้น ถือเป็นสิ่งที่ดีมาก เพียงแต่ว่าการให้มีส่วนร่วมนั้นต้องไม่เป็นการผลักภาระให้แก่ประชาชนเป้าหมายมากเกินไป หรือ การมีส่วนร่วมนั้น ยากและซับซ้อนเกินไป เพราะจะทำให้เกิดความเบื่อหน่ายและไม่อยากมีส่วนร่วมนั่นเอง

กล่าวโดยสรุปเนื้อหาในบทเรียนที่ 6 ช่องการสื่อสารนั้น ประสงค์ให้นักศึกษาผู้ศึกษาได้เข้าใจถึงความสำคัญของการเลือกใช้สื่อการประชาสัมพันธ์ให้ถูกต้อง มีความสอดคล้องกับเครื่องมือการประชาสัมพันธ์ หลักการคิด ข้อพึงระวังต่างๆ ก็เพื่อป้องกันไม่ให้การประชาสัมพันธ์ที่องค์กรคิดมาอย่างดีเยี่ยมต้องผิดพลาดในการสื่อไปยังกลุ่มเป้าหมายได้ การใช้สื่อประชาสัมพันธ์ได้ถูกต้องก็ย่อมส่งผลให้งานเกิดประสิทธิภาพ ใช้งบประมาณได้อย่างคุ้มค่า และเป็นการแสดงถึงความสามารถด้านประชาสัมพันธ์ของผู้ใช้ได้อย่างแท้จริง

จบบบที่ 6 ช่องทางการสื่อสารในงานประชาสัมพันธ์

Created By
natthasith Siripunyathanakij
Appreciate

Made with Adobe Slate

Make your words and images move.

Get Slate

Report Abuse

If you feel that this video content violates the Adobe Terms of Use, you may report this content by filling out this quick form.

To report a Copyright Violation, please follow Section 17 in the Terms of Use.