วิชา หลักรัฐประศาสนศาสตร์ เขต หลักสี่ ปทุมวัน วังทองหลาง

จัดทำโดย

นายพรปิยะ คงชํานาญ 590112010022

นายจิรยุทธ์ สืบเพชร 590112010023

นายอนุธร ถาวร 590112010043

นางสาวมัตติกา ชิดประสงค์ 590112010063

นางสาวชนิดาภา นาคสิทธิ์ 590112010098

นางสาวฉัตรนรี ทองเกิด 590412010146

นางสาวสุรีมาศ สาระกุล 590112010143

3.1 ท่านคิดว่า ประชาชนคิดเห็นอย่างไรในแนวทางการบริหารราชการไทย

ตอบ รัฐบาลทำหน้าที่กำหนดนโยบายและทิศทางการปกครองประเทศในด้านต่างๆทั้งเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง ฯลฯ เพื่อให้เป็นประโยชน์สุขสูงสุดของประชาชน อำนวยความสะดวก และตอบสนองความต้องการต่างๆให้แก่ประชาชน และมีนโยบายให้ประชาชนทุกคนปฏิบัติและประชาชนมีส่วนร่วมได้แค่บางส่วน บางครั้งประชาชนก็ไม่พอใจในนโยบายของรัฐบาล รวมไปถึงการตัดสินใจในด้านต่างๆ ของรัฐบาล บางครั้งก็ทำให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดีเรื่องของการจัดระเบียบในสังคมทางที่จะดีขึ้นกลับแย่ลง และวุ่นวายมากขึ้นทั้งการเดินทาง และการจราจร

3.2 แนวทางการบริหารราชการไทยในอนาคตควรเป็นอย่างไร และข้าราชการควรมีทักษะใดเพื่อรองรับกับทิศทางการพัฒนาระบบราชการในอนาคต

ตอบ มีการเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกคน ภาคเอกชน และชุมชนมีบทบาทมากขึ้น ระบบการบริหารในภาคราชการจะมีความรวดเร็วมากขึ้น มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพสูง การทำงานให้บริการแบบทันสมัยอาศัยเทคโนโลยี เครื่องมือต่างๆ เข้ามาช่วยเพื่อความรวดเร็ว ข้าราชการและเจ้าหน้าที่มีความเป็นมืออาชีพ มีมาตรฐาน และมีคุณธรรมวางตัวเป็นกลาง ทำงานโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์โดยมีประชาชนและประเทศเป็นเป้าหมาย การทำงานโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ ข้าราชการควรมีทักษะในหลายๆด้านไว้ จำเป็นต้องถนัดด้านใดด้านหนึ่งเพื่อการทำงานอย่างครอบคลุม แต่จะแบ่งงานตามที่เจ้าหน้าที่คนนั้นๆถนัดและการจัดการองค์กรควรมีความกะทัดรัด คล่องตัว สามารถเปลี่ยนแปลงปรับเปลี่ยนได้ตามนโยบายและสภาพแวดล้อม

3.3 ขอให้ท่านนำขอบข่ายทางรัฐประศาสนศาสตร์ 1 ขอบข่ายมาวิเคราะห์ว่าขอบข่ายสามารถอธิบายการบริหารราชการไทยปัจจุบันตอบ ขอบข่ายของการศึกษาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

ตอบ ขอบข่ายของการศึกษาวิชารัฐประศาสนศาสตร์การศึกษาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ควรจะต้องมีการนำเอาความรู้จากศาสตร์สาขาอื่น ๆ เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ในเรื่องของการบริหารงาน เพราะศาสตร์สาขาอื่น ๆ มีความก้าวหน้าเพียงพอที่จะช่วยให้วิชารัฐประศาสนศาสตร์มีเอกลักษณ์ที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้นในการศึกษา โดยเฉพาะเมื่อได้นำเอาความรู้มาจากศาสตร์ที่แตกต่างกัน เช่น วิชาเศรษฐศาสตร์บริหารธุรกิจ หรือสังคมวิทยา มาประยุกต์ใช้ก็จะทำให้ผู้ศึกษาสามารถมีข้อมูลที่มากขึ้นเพื่อทำการตัดสินใจและหาวิธีทางที่ทำให้ สามารถตัดสินใจได้อย่างมีเหตุผลภายใต้ข้อจำกัดต่าง ๆ โดยได้มีนักวิชาการทางด้านรัฐประศาสนศาสตร์ได้กล่าวถึงศาสตร์ที่เกี่ยวข้องทางรัฐประศาสนศาสตร์ไว้อย่างครอบคลุม ตัวอย่างเช่น

สาขาวิชารัฐศาสตร์ วิชารัฐศาสตร์และวิชารัฐประศาสนศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ เพราะวิชารัฐประศาสนศาสตร์มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาถึงการส่งเสริมให้มีการบริหารงานเป็นไปตามนโยบายของรัฐที่กำหนดไว้ กล่าวคือ วิชารัฐศาสตร์จะถูกใช้โดยฝ่ายปกครองหรือฝ่ายการเมือง ส่วนวิชารัฐประศาสนศาสตร์จะถูกใช้โดยฝ่ายข้าราชการ แต่ทั้งนี้ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการแก่ประชาชน สามารถเข้าใจได้ว่าการศึกษาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ โดยปราศจากการศึกษาวิชารัฐศาสตร์ดูจะเป็นเรื่องที่ยากที่จะทำให้การศึกษาวิชารัฐประศาสนศาสตร์มีความสมบรูณ์

3.4 การทำงานชิ้นนี้ทำให้ท่านได้เรียนรู้อะไร

ตอบ ความรู้สึกที่ลงพื้นที่กลุ่มของข้าพเจ้าได้แยกกันลงคนละพื้นที่เป็นกลุ่มๆ ซึ่งแต่ละกลุ่มแตกต่างกันเพราะแต่ละพื้นที่จะมีประชาชนทำงานแตกต่างกันจริงมีความต้องการที่แตกต่างกัน ความพึงพอใจที่แตกต่างกัน เช่น แม่ค้าอาจจะต้องการแค่การรับข่าวสารที่ทั่วถึงทุกคน แต่คนรับราชการหรือคนทำงานเอกชนอาจจะอยากให้ระบบราชการมีความรวดเร็วระบบหรือขั้นตอนไม่ยุ่งยากผ่านหลายขั้นตอน

Report Abuse

If you feel that this video content violates the Adobe Terms of Use, you may report this content by filling out this quick form.

To report a Copyright Violation, please follow Section 17 in the Terms of Use.