ตามรอยพ่อทำเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์

บทนำ

ปัญหาหลักของเกษตรกรในอดีต จนถึงปัจจุบันที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การขาดแคลนน้ำเพื่อเกษตรกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตพื้นที่เกษตรที่อาศัยน้ำฝน ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศที่อยู่ในเขต ที่มีฝนค่อนข้างน้อยและส่วนมากเป็นนาข้าวและพืชไร่ เกษตรกรยังคงทำการเพาะปลูก ได้ปีละครั้งในช่วงฤดูฝนเท่านั้น และมีความเสี่ยงกับความเสียหาย อันเนื่องมาจากความแปรปรวนของดินฟ้าอากาศและฝนทิ้งช่วง แม้ว่าจะมีการขุดบ่อหรือสระเก็บน้ำไว้ใช้บ้างแต่ก็มีขนาดเพียงพอ หรือมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เป็นปัญหาให้มีน้ำใช้ไม่เพียงพอ รวมทั้งระบบการปลูกพืชไม่มีหลักเกณฑ์ใด ๆ และส่วนใหญ่ปลูกพืชชนิดเดียว ด้วยเหตุนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึง ได้พระราชทานพระราชดำริ เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบความยากลำบากดังกล่าว ให้สามารถผ่านพ้นช่วงเวลาวิกฤติ โดยเฉพาะการขาดแคลนน้ำได้โดยไม่เดือดร้อนและยากลำบากนักพระราชดำรินี้ ทรงเรียกว่า "ทฤษฎีใหม่" เป็นแนวทางหรือหลักการในการบริหารการจัดการที่ดินและน้ำ เพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด

หลักการและเหตุผล

เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจในการพัฒนาการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ ที่ยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเครื่องมือนำทางในการพัฒนาภาคเกษตร โดยการพัฒนาปรับเปลี่ยนแนวคิดและรูปแบบในการดำเนินการสอน รวมทั้งสนับสนุนให้นักเรียนมีความเข้าใจและนำเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตประจำวัน การประกอบอาชีพ ทั้งในระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชนของนักเรียน เพื่อให้เกิดการพัฒนาในแนวทฤษฎีใหม่ ที่เป็นขั้นเป็นตอน ตั้งแต่ขั้นที่ 1 ไปสู่ขั้นที่ 2 และขยายขอบเขตการพัฒนาไปสู่ระดับที่ 3 การดำเนินงานของโครงการดังกล่าว ประกอบด้วยกิจกรรมการให้ความรู้แก่นักเรียนโรงเรียนวัดลาดบัวหลวง และมีศักยภาพเข้าร่วมดำเนินงานโดยทำหน้าที่เป็นตัวแทนเด็กนักเรียนภายในโรงเรียนและภายในครอบครัว ทำการฝึกปฏิบัติ ตามแนวทฤษฎีใหม่โดยยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และเน้นการพึ่งพาตนเองให้เหมาะสมกับภูมินิเวศน์ และภูมิปัญญาในแต่ละชุมชน ตลอดจนสนับสนุนการพัฒนาให้มีความเข้มแข็งเพื่อสามารถดำเนินการผลิต การตลาด รวมทั้งการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมในชุมชนที่สอดคล้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่น บนพื้นฐานกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม โดยการส่งเสริมและสนับสนุนองค์ความรู้ที่สำคัญในการพัฒนาตามแผนการดำเนินงานและความต้องการของกลุ่ม พร้อมกับการดำเนินงานสนับสนุน ให้เกิดเครือข่ายและการเชื่อมโยงเครือข่ายกลุ่มอาชีพ เพื่อให้สามารถขยายกิจกรรมทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม โดยการประสานงานความร่วมมือการจัดการด้านเงินทุน การผลิต การแปรรูป การตลาดและข้อมูลข่าวสาร

วัตถุประสงค์

1.เพื่อเสริมองค์ความรู้ให้แก่นักเรียนโรงเรียนวัดลาดบัวหลวงได้มีความรู้เกี่ยวกับเกษตรทฤษฎีใหม่ทั้ง 3 ด้าน

2.เพื่อให้เกิดทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับเกษตรทฤษฎีใหม่ว่าสามารถทำได้จริงและสามารถแก้ไขปัญหาประเทศในระดับตนเองและระดับภาคเกษตรกรได้จริง

3.มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำเกษตรแบบประณีตซึ่งเป็นรากฐานของทฤษฎีใหม่

เป้าหมาย

เชิงปริมาณ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่6 โรงเรียนวัดลาดบัวหลวง 56 คน คิดเป็น 80 เปอร์เซ็น เข้าใจในระดับดี

เชิงคุณภาพ นักเรียนทุกคนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำเกษตรทฤษฎีใหม่และการทำเกษตรประณีตเป็นอย่างดี และนักเรียนจะทำความรู้ความเข้าใจที่ได้ไปปฏิบัติตาม

วิธีดำเนินการ

1.สมาชิกทุกคนในกลุ่มช่วยกันคิดเรื่องที่จะทำโครงการ

2.ปรึกษาและขอคำแนะนำจากอาจารย์ที่ปรึกษา

3.ประชุมกลุ่มโครงการและแบ่งงานแบ่งหน้าที่ของสมาชิกภายในกลุ่ม

4.ออกสำรวจสถานที่ ติดต่อสอบถามโรงเรียนวัดลาดบัวหลวง

5.ศึกษาข้อมูลในการทำเกษตรทฤษฎีใหม่และเกษตรประณีต

6.ปรึกษาและขอคำแนะนำจากอาจารย์และผู้มีความรู้ทางด้านโครงการที่ทำ

7.ประชุมวางแผนงานและปฏิบัติงานเบื้องต้น จัดการเตรียมและซื้อของทำโครงการ

8.ลงมือออกเดินทางไปปฏิบัติงานตามแผนการที่วางไว้ ณ โรงเรียนวัดลาดบัวหลวง

9.ประเมินผลการทำงาน

ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ

งบประมาณ

รายละเอียดค่าใช้จ่าย จำนวน จำนวนเงิน

ค่าเดินทาง 5 คน 1000 บาท

ค่าเอกสาร - 200 บาท

ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด - 1500 บาท

ค่าอาหารกลางวัน 5 คน 300 บาท

รวมค่าใช้จ่าย 3000 บาท

การประเมินผลโครงการ

มีการประเมินผล 3 รูปแบบ

1.การทำแบบสอบถามความรู้เพื่อทดสอบความเข้าใจหลังการเข้ารับฟังการบรรยาย

2.ทำรวมกลุ่มทำแผนผังความคิดเพื่อนำเสนอภายในกิจกรรม

3.กลุ่มเป้าหมายสามารถพูดและตอบโต้กับวิทยากรในเรื่องเกษตรทฤษฎีใหม่และเกษตรแบบประณีตได้

ผลการดำเนินงาน

การดำเนินโครงการตามรอยพ่อทำเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์ ให้แก่นักเรียนโรงเรียนวัดลาดบัวหลวง (สหมิตรศึกษา)จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6จำนวน 2 ห้องเรียนเข้าร่วมโครงการ โดยการดำเนินงานของโครงการเป็นรูปแบบของการสอนให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ทางกลุ่มของข้าพเจ้าได้มีการให้นักเรียนทุกคนที่เข้าร่วมโครงการทำแบบสอบถามก่อนและหลังการอบรม เพื่อให้ทราบถึงความรู้ที่ได้รับจากการอบรมโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่

ผลของการ ดำเนินโครงการตามรอยพ่อทำเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์ ณ โรงเรียนวัดลาดบัวหลวง (สหมิตรศึกษา) ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากคณะครูและนักเรียนของทางโรงเรียน ซึ่งสามารถวัดได้จากแบบประเมินที่ทางกลุ่มข้าพเจ้าได้จัดทำขึ้นเพื่อให้ คณะครูจากทางโรงเรียนได้ประเมินซึ่งผลดังกล่าวนั้นอยู่ในขั้นพึงพอใจมาก

การดำเนินงานโครงการ

ขั้นที่1 ต้องระดมความคิดของคนในกลุ่ม

ขั้นที่2 ต้องปรึกษาอาจารย์ในวิชา ว่าโครงการที่กลุ่มของข้าพเจ้าสามารถปฏิบัติได้จริงไหมและสามารถทำออกมาจะได้ผลสัมฤทธิ์มากน้อยเพียงใด

ขั้นที่3 กลุ่มของข้าพเจ้าก็ประชุมกันภายในกลุ่มกันอีกครั้ง

ขั้นที่4 กลุ่มของข้าพเจ้าก็คิดชื่อโครงการได้คือ โครงการตามรอยพ่อทำเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์

ขั้นที่5 กลุ่มของข้าพเจ้าก็ได้หาโรงเรียนที่เหมาะสมและเดินทางสะดวก

ขั้นที่6 และกลุ่มของข้าพเจ้าก็ประชุมกลุ่มเพื่อระบุงานของแต่ละคนอย่างชัดเจน

ขั้นที่7 กลุ่มของข้าพเจ้าได้มีการรวมกลุ่มกันเพื่อคุยกันเรื่องงบประมาณ

ขั้นที่8. การเดินทางไปทำกิจกรรมที่โรงเรียนและดำเนินกิจกรรม

สรุปโครงการ

สรุปโครงการ โครงการตามรอยพ่อทำเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์ เป็นโครงการที่เกี่ยวข้องกับ เศรษฐกิจพอเพียง เป็นการปลูกฝังเด็กตั้งแต่เล็ก ว่าเศรษฐกิจพอเพียงนั้นสามารถเป็นโครงการของในหลวง อบรมเสร็จ ถ้าหากกลับไปบอกให้พ่อแม่ทำตาม ก็จะดีต่อตนเอง และครอบครัวของตนเองอีกด้วย

ประเมินผลการทำงาน

อยู่ในเกณฑ์ที่ดีพอควร เด็กทุกคนรับฟัง และมีความเข้าใจในการดำเดินกิจกรรม วัดจากแบบสอบถาม และ วัดจาก 360 องศา

ทำแบบสอบถาม

สรุปผลและข้อเสนอแนะ

การประเมินความสำเร็จโครงการ มีการสร้างเครื่องมือในการประเมินผลโครงการทั้งหมด 4 ประเภท ได้แก่

1 แบบทดสอบความเข้าใจและสอบถามคำถามพื้นฐานรายบุคคลของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดลาดบัวหลวง จำนวน 64 คน

2.การสัมภาษณ์รายบุคคล ในการจัดทำโครงการครั้งนี้มีการสัมภาษณ์เด็กนักเรียน มากกว่าร้อยละ 70 หรือมากกว่า 45 คน การสัมภาษณ์เป็นการให้เป็นอาสาสมัครในการตอบคำถามเพื่อแลกรางวัล

3.การนำเสนอผลงานของตนเอง หลังจากที่มีการอบรมนักเรียนให้รู้จักกับเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์ โดยการรวมกลุ่มกันเพื่อระดมความคิด นักเรียนก็อยากที่จะทำทฤษฎีใหม่จริง ๆ

4.การประเมินแบบหลายองศา ในการประเมินหลายองศา เป็นการประเมิน ความสำเร็จของโครงการ โดยมีผู้ประเมินคือ ครูผู้เข้าร่วมฟังการอบรมการทำเกษตรทฤษฎีใหม่

การบรรลุวัตถุประสงค์

1.เพื่อเสริมองค์ความรู้ให้แก่นักเรียนโรงเรียนวัดลาดบัวหลวงได้มีความรู้เกี่ยวกับเกษตรทฤษฎีใหม่

2.เพื่อให้เกิดทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับเกษตรทฤษฎีใหม่ว่าสามารถทำได้จริงและสามารถแก้ไขปัญหาประเทศในระดับตนเองและระดับภาคเกษตรกรได้จริง

3.มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำเกษตรแบบประณีตซึ่งเป็นรากฐานของทฤษฎีใหม่

ปัญหา อุปสรรค

1.ต้องทำในเวลาจำกัด มีการให้เวลาในการทำแผ่นออกมานำเสนอน้อยเกินไป

2.สถานที่คับแคบเกินไปไม่สามารถขยับขยายได้เท่าที่ควร

3.มีปัญหาเรื่องการประสานงานที่ระบบราชการล่าช้า มีการเปลี่ยนแปลงวันและเวลา

ข้อเสนอแนะ

1.การทำงานควรมีแผนสำรองเพราะเวลาที่ทำโครงการจริงยังไม่สามารถกำหนดให้เป็นไปตามเวลาในกำหนดการได้

2.ครูที่โรงเรียนแนะนำให้จัดกิจกรรมที่บูรณาการความรู้ทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้

วิดีโอการทำกิจกรรม

รายชื่อสมาชิก

  • 1.นายรัชตะ อธิคมเสรณี 560112010102
  • 2.นายอิทธิธร รัตนะ560112010043
  • 3.นางสาวธิดารัตน์ เพชรคง560112010079
  • 4.นางสาวสุพัตรา เผือกมี560312010149
  • 5.นางสาวสุริฉาย รามศรี560312010132
  • 6.นายธนวัต ล้ำเลิศ

Credits:

เศรษฐกิจพอเพียง

Made with Adobe Slate

Make your words and images move.

Get Slate

Report Abuse

If you feel that this video content violates the Adobe Terms of Use, you may report this content by filling out this quick form.

To report a Copyright Violation, please follow Section 17 in the Terms of Use.