องค์ประกอบและหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์

ความหมายของคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานตามคำสั่งที่มนุษย์เขียนขึ้น เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำตามขั้นตอนที่กำหนดไว้และประมวลผลออกมาตามต้องการ เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานรวดเร็ว มีความแม่นยำในการทำงาน และทำงานได้ต่อเนื่อง

ประเภทของคอมพิวเตอร์
หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เราทำงานได้สะดวก รวดเร็ว และแม่นยำยิ่งขึ้น ซึ่งการทำงานคอมพิวเตอร์มีขั้นตอนสำคัญ 4 ขั้นตอน คือ

1. รับข้อมูลและคำสั่ง (INPUT) คอมพิวเตอร์จะทำงานได้ก็ต่อเมื่อป้อนข้อมูลหรือคำสั่งผ่านหน่วยรับข้อมูลต่าง เช่น

- แป้นพิมพ์

- เม้าส์

2. ประมวลผลข้อมูล (PROCESS) เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการจะต้องอาศัยชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้ในการคำนวณ เปรียบเทียบ และวิเคราะห์ โดยนำข้อมูลที่รับเข้ามาไปประมวลผลที่หน่วยประมวลผลกลาง

3. แสดงผลข้อมูล (OUTPUT) ผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลเรียบร้อยแล้ว สามารถแสดงออกในรูปแบบอื่นๆผ่านหน่วยแสดงผล เช่น

- จอภาพ

- เครื่องพิมพ์

4. จัดเก็บข้อมูล (STORAGE) นอกจากนี้ผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลยังสามารถจัดเก็บไว้ใช้ประโยชน์ได้อีก โดยจัดเก็บข้อมูลไว้ในหน่วยเก็บข้อมูล เช่น

ฮาร์ดดิสก์
แฟลชไดรฟ์
แผ่นซีดี
องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์

จากหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ในแต่ละขั้นตอนจะมีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทำงานสัมพันธ์กันอย่างเป็นขั้นตอน สรุปได้ดังนี้

1. หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) เป็นหน่วยแรกของคอมพิวเตอร์ที่ใช้รับข้อมูลจากผู้ใช้ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่งของผู้ใช้ต่อไป โดยหน่วยรับข้อมูลจะทำหน้าที่รับข้อมูลทุกรูปแบบจากฮาร์ดแวร์ต่างๆมาเปลี่ยนเป็นรูปแบบสัญญาณหรือข้อมูลดิจิทัล แล้วส่งต่อไปยังหน่วยประมวลผลกลางเพื่อประมวลผล

ปัจจุบันฮาร์ดแวร์สำหรับรับข้อมูลเข้ามีหลากหลายประเภท ขึ้นอยู่กับการทำงานของผู้ใช้ เช่น แป้นพิมพ์ เม้าส์ กล้องดิจิทัล สแกนเนอร์ เครื่องอ่านรหัสโอซีอาร์ จอยสติ๊ก เว็บแคม เป็นต้น

2. หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) เปรียบเสมือนสมองและหัวใจของคอมพิวเตอร์ โดยประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์ขึ้นอยู่กับหน่วยประมวลผลกลางเป็นหลัก นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ควบคุมและดูแลการทำงานทั้งหมดภายในระบบคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์ที่สำคัญ คือ Microprocessor

การทำงาน แบ่งเป็น 2 หน่วย ได้แก่ หน่วยควบคุม หน่วยคำนวณและตรรกะ

  • หน่วยควบคุม (Control Unit) ทำหน้าที่อ่านคำสั่งทีละคำสั่ง แล้วตีความคำสั่งว่าเป็นคะสั่งใดและต้องใช้ข้อมูลจากที่ใด เพื่อควบคุมและประสานงานการทำงานของฮาร์ดแวร์และหน่วยต่างๆภายในระบบคอมพิวเตอร์ หน่วยนี้ทำงานคล้ายสมองคน ทำงานดังนี้
  • หน่วยคำนวณและตรรกะ (ALU) ทำหน้าที่ประมวลผลคำสั่งด้วยวิธีการทางคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร เป็นต้น และทางตรรกศาสตร์ โดยนำไปเปรียบเทียบค่าของข้อมูลซึ่งมีค่าเป็นจริงหรือค่าเป็นเท็จ แล้วจึงเก็บผลลัพธ์ที่ได้ไว้ในหน่วยความจำต่อไป

3. หน่วยความจำหลัก ถ้าไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ทำงานไม่ได้

  • หน่วยความจำหลักแบบอ่านได้อย่างเดียว หรือรอม (ROM) หรือเรียกว่า "หน่วยความจำถาวร" ติดตั้งไว้บนแผนวงจรหลัก โดยข้อมูลยังคงอยู่แม้จะปิดเครื่อง เมื่อเปิดเครื่องจะอ่านโปรแกรมหรือข้อมูลได้เท่านั้น แต่ไม่สามารถนำข้อมูลอื่นมาลงในรอมได้
  • หน่วยความจำหลักแบบแก้ไขได้ หรือแรม (RAM) หรือเรียกว่า "หน่วยความจำชั่วคราว" มีหน้าที่จดจำคำสั่งที่เป็นโปรแกรมและข้อมูล ที่จะทำการประมวลผลในขณะที่เปิดเครื่องและมีไฟฟ้าอยู่เท่านั้น จึงต้องจ่ายไฟฟ้าให้ตัวแรมตลอดเวลา จึงจะสามารถเก็บข้อมูลได้ หากไฟฟ้าดับข้อมูลในตัวแรมก็จะหายไป
  • หน่วยความจำแคช (cache memory) เป็นหน่วยความจำแรมที่เพิ่มความเร็วในการอ่านและเขียนข้อมูลของหน่วยความจำประเภทดีแรม โดยทำงานอยู่ตรงกลางระหว่างซีพียูกับดีแรม ทำหน้าที่เก็บข้อมูลและคำสั่งที่มีการใช้งานบ่อย เมื่อมีการเรียกใช้คำสั่งดังกล่าว ซีพียูจึงไม่จำเป็นต้องเข้าถึงข้อมูลในแรม แต่สามารถเรียกข้อมูลจากหน่วยความจำแคชซึ่งเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง ทำให้ลดเวลาในการอ่านและเขียนข้อมูลได้
  • หน่วยความจำวีดิโอแรมหรือวีแรม (VRAM) ใช้สำหรับการแสดงผล ซึ่งติดตั้งมากับการ์ดแสดงผลหรือการ์ดจอที่มีราคาแพง คุณภาพดีและมีความเร็วในการทำงานสูง

4. หน่วยความจำสำรอง (Secondary Memory Unit) ทำหน้าที่เก็บข้อมูลตามคำสั่งผู้ใช้ ซึ่งจะมีพื้นที่จุมากกว่าหน่วยความจำหลัก การเก็บข้อมูลจะเป็นแบบถาวร คือ ข้อมูลไม่สูญหายเมื่อปิดคอมพิวเตอร์ จึงเหมาะสำหรับเก็บข้อมูลจำนวนมากและนำกลับมาใช้ได้อีก

อุปกรณ์ที่เป็นหน่วยความจำสำรอง เช่น ฮาร์ดดิสก์ แผ่นดิสก์เก็ตหรือแผ่นฟล็อปปี้ดิสก์ แผ่นซีดี แผ่นดีวีดี แฟลชไดรฟ์ เป็นต้น

5. หน่วยแสดงผล (Output Unit) ทำหน้าที่แสดงผลที่ได้จากการประมวลผลข้อมูลที่เตรียมไว้ในหน่วยความจำหลัก เพื่อส่งข้อมูลหรือสื่อสารกับผู้รับ โดยมีฮาร์ดแวร์ทำหน้าที่เป็นส่วนแสดงผลหรือส่งข้อมูลที่ได้จากการประมวลผลจากซีพียูมายังผู้รับ มีทั้งรูปแบบภาพ เสียงและสิ่งพิมพ์ เช่น จอภาพ ลำโพง เครื่องพิมพ์ เครื่องโพรเจคเตอร์ เป็นต้น

ระบบทางขนส่งข้อมูลหรือบัส

BUS มีหน้าที่ในการขนส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งก็คือสัญญาณไฟฟ้าในระบบคอมพิวเตอร์ มีการทำงานที่สลับซับซ้อนพอสมควรจึงมักเรียกว่า "ระบบบัส" หรือ "BUS SYSTEM" จะนับขนาดข้อมูลที่วิ่งอยู่โดยจะมีหน่วยเป็นบิต ( bit ) บนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ บัสจะมีความกว้างหลายขนาดขึ้นอยู่กับรุ่นของคอมพิวเตอร์ เนื่องจากอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออยู่ในเมนบอร์ดต้องการความเร็วในการติดต่อแตกต่างกัน ระบบบัสบนแผงวงจรหลักจึงแบ่งออกเป็นหลายชุด ดังนี้

1.ระบบบัสแบบพีซีไอ (Peripheral Component Interconnect)

มีชิบเซ็ตเป็นตัวควบคุมโดยเฉพาะทำให้มีความเร็วในการติดต่อกับอุปกรณ์ต่างๆได้สูงขึ้น คือ 33 เมกะเฮิรตซ์ เป็นบัสแบบ 32 บิต จึงมีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลเท่ากับ 133 เมกะไบต์ต่อวินาที ระบบบัสชนิดนี้จะใช้เชื่อมต่อกับสล็อตแบบ PCI (สล็อตที่มีสีขาวบนแผงวงจรหลัก ตามปกติจะมี 5-6 สล็อต) ซึ่งบเป็นช่องอุปกรณ์ความเร็วสูงรองลงมาจากการ์ดแสดงผล ได้แก่ การ์ดเสียง โมเด็ม และการ์ดแลน (LAN)

2.ระบบบัสแบบเอจีพี (Accelerated Graphic Port : AGP)

เป็นระบบบัสความเร็วสูงพัฒนาเพื่อนำมาใช้กับการ์ดแสดงผลรุ่นใหม่เพื่อรองรับงานสื่อประสม( multimedia ) ซึ่งบัสชนิดนี้จะเชื่อมต่ออยู่กับสล็อต AGP สำหรับการ์ดแสดงผลโดยเฉพาะตำแหน่งของสล็อตอยู่ใกล้กับหน่วยประมวลผลกลางที่สุดและแผงวงจรหลัก 1 แผง จะมีสล็อตแบบ AGP ได้เพียง 1 สล็อตเท่านั้น

3.ระบบเเบบพีซีไอเอกเพรส (Peripheral Component Interconnect Express:PCI Express)

เนื่องจากความต้องการอุปกรณ์ฮาร์ดเเวร์ ที่มีความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่สูงขึ้นเเละระบบบัสเเบบ PCI เเละ AGP ไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการนี้ได้อย่างเต็มที่ เนื่องจาก PCI มีความเร็วที่ต่ำไป ส่วน ARG ใช้ได้กับสล็อตการ์ดเเสดงผลเพียงอย่างเดียวเเละมีได้1สล็อตเท่านั้นจึงได้มีการพัฒนาระบบบัสเเบบใหม่ คือ PCI Express ขึ้นมา ซึ่งเป็นบัสที่มีความเร็วสูงเเละมีอัตรารับ-ส่งข้อมูลสูงขึ้น

การทำงานของระบบบัสพื้นฐาน

ในระบบคอมพิวเตอร์ การส่งถ่ายหรืออ่านข้อมูลส่วนมากจะเป็นระหว่างโปรเซสเซอร์หรือหน่วยความจำกับอุปกรณ์ภายนอกทั้งหมดโดยผ่านบัส ในโปรเซสเซอร์จะมีบัสซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้คือ

1. บัสที่อยู่ (Address Bus) เมื่อโปรเซสเซอร์หรืออุปกรณ์ต้องการส่งหรืออ่านข้อมูล ก็จะส่งสัญญาณออกมาทางบัสที่อยู่ โดยกำหนดตำแหน่งหน่วยความจำบนบัสที่อยู่ ที่เรียกว่า หมายเลขแอดเดรส ซึ่งขนาดของบัสที่อยู่จะขึ้นอยู่กับจำนวนหน่วยความจำบนระบบของแอดเดรส

2. บัสข้อมูล (Data Bus) ใช้สำหรับส่งข้อมูลไปยังตำแหน่งที่ระบุโดยบัสที่อยู่ และถูกควบคุมการเขียนส่งและอ่านข้อมูลโดยบัสควบคุม

3. บัสควบคุม (Control Bus) ใช้สำหรับควบคุมการติดต่อระหว่างซีพียูกับอุปกรณ์อื่นๆภายในคอมพิวเตอร์ เพื่อบังคับว่าจะอ่านข้อมูลเข้ามาหรือจะส่งข้อมูลออกไป

Credits:

Created with images by chezbeate - "background texture wood" • PIX1861 - "keyboard mouse desk" • jarmoluk - "information information board message" • Nikiko - "window wall old" • tinyfroglet - "Printing WoW Armor and Weapons" • Maggie-Me - "Background" • janeb13 - "open hard drive tray and visible playhead" • artverau - "usb flash drive device computer accessories" • Whisper380 - "cd disc cd-rom" • Maggie-Me - "Backgrounds" • Pexels - "apple technology keyboard" • AlexKingCreative - "mouse apple magic mouse" • RichardLey - "camera old retro" • christianladewig0 - "joystick console video games" • willsong - "products camera monitor" • ChristianHoppe - "mac freelancer macintosh" • WerbeFabrik - "speakers music sound" • Ken_Mayer - "Samsung ML-2525W Wireless Mono Laser Printer" • Maggie-Me - "Background" • kevin dooley - "Background" • Maggie-Me - "Background" • edgarpierce - "Gray plank background" • Maggie-Me - "background 7" • geralt - "fall foliage autumn leaves"

Made with Adobe Slate

Make your words and images move.

Get Slate

Report Abuse

If you feel that this video content violates the Adobe Terms of Use, you may report this content by filling out this quick form.

To report a Copyright Violation, please follow Section 17 in the Terms of Use.