แบบรายงานการเก็บข้อมูล มุมมองของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อแนวทางการพัฒนาราชการไทย

เสนอ

อาจารย์ นิติพล ธาระรูป

จัดทำโดย

นางสาวภทรพรรณ นรสาร 520312010143

นายปฏิวัติ บ่มไล่ 530312010231

นางสาวรัชดาพร ภควัตสิริ 560212010006

นายจิรยุทธ คุดฑา 580112010002

นายสรวิชญ์ ปราบพยัคฆา 580112010041

นางสาวพรทิพย์ อ้นชัยยะ 580112010051

นางสาวพัชราวรรณ จวงจ่าย 580112010083

รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา

PA 313 การจัดการภาครัฐแนวใหม่

กลุ่ม 001 คณะรัฐประศาสนศาสตร์

มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

แบบรายงานการเก็บข้อมูลคุณธรรม

และความเป็นพลเมืองของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร

คำถาม

1.ท่านคิดว่าประชาชนเป็นพลเมืองที่พร้อมเป็นกำลังขับเคลื่อนประเทศได้หรือไม่

ได้เพราะ ในการขับเคลื่อนประเทศให้ก้าวหน้าจำเป็นต้องให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ประชาชนที่มีความเป็นพลเมืองซึ่ง พลเมืองหมายถึง หมู่คนที่เป็นของประเทศใดประเทศหนึ่ง คนทั้งหมดซึ่งเป็นกำลังของประเทศ ทั้งในทางเศรษฐกิจ การทหารและอำนาจต่อรอง กัประเทศอื่น โดยนัยยะของความหมาย คำว่า"พลเมือง"หมายถึง คนที่ สนับสนุนเป็นกำลังอำนาจ ของผู้ปกครองเป็นคนที่อยู่ในความควบคุมดูแล ของผู้ปกครอง หากเป็นภาษาอังกฤษ คำว่าพลเมือง คงหมายถึงCitizen ซึ่งไม่เหมือนคำว่า people หรือpopulation เสียเลยทีเดียว ยิ่งถ้าเป็น"บุคคล" ก็จะแปลเป็น"persons"หรือ"individuals"ซึ่งบางคน ก็อาจจะแปลเป็นไทยว่า

"ปัจเจก" ซึ่งจะยิ่งไกลจากความหมาย ของการเป็น"พลเมือง" ออกไปอีก ท่านผู้รู้อีกท่านหนึ่ง ยืนยันว่า คำว่า"พลเมือง" มีความหมายแตกต่างจากคำว่า"ประชาชน"แน่นอน เพราะความเป็นพลเมืองนั้น หมายถึง คนที่มีความสามารถ ที่จะแสดงความรับผิดชอบ ทั้งต่อตนเองและส่วนรวม "พลเมือง"จึงต้องเป็นผู้มีความรู้ และเข้าไปช่วยตัดสินใจ ในปัญหาสำคัญๆ ของสังคม ของชุมชน ของประเทศ หมายถึงเข้าไปอยู่ในกระบวนการมีส่วนร่วมที่มีความคิดอิสระ เป็นตัวของตัวเอง ต่างจากคำว่า"ประชาชน"ที่กลายเป็นผู้รับคำสั่ง ทำตามผู้อื่น การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ จึงอยู่ที่การเปลี่ยนให้ประชาชนคนธรรมดา ได้กลายเป็นพลเมือง ที่มีสิทธิกำหนดทิศทางของประเทศได้ หากตีความตามความหมายนี้ ก็พอจะเข้าใจได้ว่า คนร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ต้องการใช้คำว่า "พลเมือง"เพื่อตอกย้ำความสำคัญของการทำให้ประชาชนทั่วไปหรือราษฎรกลายเป็น"พลเมือง" ซึ่งมีพลังอำนาจในการต่อรองและพร้อมลุกขึ้น พัฒนาและปกป้องสิทธิ ของตนเอง อีกทั้งยังไม่ยอมให้ใคร มีพฤติกรรมซื้อสิทธิขายเสียง อันเป็นศรัตรูหมายเลขหนึ่งของ ระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง อย่างที่เคยเป็น และพร้อมเป็นกำลังขับเคลื่อนประเทศให้เจริญก้าวหน้าขึ้น

2.เรามีแนวทางอย่างไรเพื่อให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารราชการ

การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารราชการ ก็คือ กระบวนการที่เชื่อมโยงระหว่างภาครัฐ และภาคีอื่น ๆ นอกจากภาครัฐ เช่น ธุรกิจเอกชน ประชาชน ชุมชน และองค์กรต่าง ๆ ให้ได้มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในการคิด ตัดสินใจ เพราะการพัฒนาที่ทรงพลังและยั่งยืนในสังคมประชาธิปไตย เกิดจากการพัฒนาที่ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนได้ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมแรงร่วมใจในการดำเนินการ และร่วมรับประโยชน์จากการพัฒนา การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคีทุกภาคส่วนและประชาชนในการบริหารงานภาครัฐ เป็นรูปแบบการบริหารราชการแนวใหม่สำหรับสังคมไทย หากเราต้องการให้เกิดการพัฒนาการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมที่บรรลุเป้าหมายนั้น จำเป็นที่ต้องดำเนินการทั้ง 2 ส่วน คือ

1) การพัฒนาจากภายนอกภาคราชการ (Outside-in approach) คือ การสร้างศักยภาพและโอกาส (Empowerment and enabling) ให้ภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อสร้างให้ระบบราชการเป็นระบบเปิดตามครรลองการบริหารในระบอบประชาธิปไตย จะสัมฤทธิ์ผลได้นั้นต้องมีการกำหนดรูปแบบและกระบวนการบริหารของส่วนราชการตลอดจนต้องสร้างค่านิยมและวัฒนธรรมการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม (Engaged Governance Culture) ของข้าราชการ

2) การพัฒนาจากภายในภาคราชการ (Inside-out approach) คือ การเสริมสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วม สำหรับการบริหารราชการของผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการในระดับจังหวัด ต้องดำเนินการสร้างความพร้อมและศักยภาพจากภายในส่วนราชการระดับจังหวัดออกไปสู่ประชาชนและสร้างความพร้อมด้านศักยภาพของภาคประชาสังคมเข้าไปสู่การมีส่วนร่วมในกระบวนการบริหารราชการของผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อร่วมเป็นภาคีการพัฒนาของส่วนราชการในระดับจังหวัด โดยต้องดำเนินการพัฒนาทักษะและความรู้ความเข้าใจกับทุกองคาพยพทั้งในส่วนกลางและระดับจังหวัด มีการกำหนดทั้งนโยบาย และแนวทางการทำงานประสานเชื่อมโยงให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันหากนำหลักการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมมาเปรียบเทียบกับเรื่อง Six Trends Transforming Government พบว่ามีความสอดคล้องกับประเด็น Engaging Citizens in Government คือการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในทุกระดับของภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการตัดสินใจ การกำหนดนโยบาย หรือการให้บริการ และจากการวิจัยพบว่า การเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย การตัดสินใจ และเรื่องการบริการ นั้นมีความเป็นรูปธรรมตามกฎหมายมากขึ้น จึงทำให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมต่างๆ ในภาครัฐประสบความสำเร็จ ประชาชนมีความเชื่อมั่นและไว้ใจในหน่วยงานภาครัฐ

การบริหารราชการที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องและภาคส่วนอื่นๆ ในสังคมได้เข้ามามีส่วนร่วมในงานราชการระดับต่างๆ อย่างมีคุณภาพก็จะถือว่าเป็นก้าวสำคัญอีกก้าวหนึ่ง ในการพัฒนาระบบราชการไทยให้สอดคล้องกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย ดังนั้นการสร้างความรู้และความเข้าใจแก่เครือข่ายภาคประชาสังคมและภาคประชาชนเพื่อพัฒนาระบบราชการไทยให้มุ่งเน้นการเรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง เพื่อให้ภาคประชาชนมีศักยภาพในการเข้าสู่กระบวนการมีส่วนร่วม จึงเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนให้เกิดความเป็นรูปธรรมและต่อเนื่องมากขึ้น

ประโยชน์ของการมีส่วนร่วมของประชาชน

1. คุณภาพของการตัดสินใจดีขึ้น เนื่องจากกระบวนการปรึกษาหารือกับสาธารณชนจะช่วยสร้างความกระจ่างให้กับวัตถุประสงค์และความต้องการของโครงการหรือนโยบาย และบ่อยครั้งที่การมีส่วนร่วมของประชาชนนำมาสู่การพิจารณาทางเลือกใหม่ ๆ ที่น่าจะเป็นคำตอบที่มีประสิทธิผลที่สุดได้

2. ใช้ต้นทุนน้อยและลดความล่าช้าลง แม้ว่าการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมจะต้องใช้เวลาและมีค่าใช้จ่ายมากกว่าการตัดสินใจฝ่ายเดียว แต่การตัดสินใจฝ่ายเดียวที่ไม่คำนึงถึงความต้องการแท้จริงของประชาชนนั้น อาจนำมาซึ่งการโต้แย้งคัดค้านหรือการฟ้องร้องกัน อันทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงในระยะยาว เกิดความล่าช้า และความล้มเหลวของโครงการได้ในที่สุด

3. การสร้างฉันทามติ การมีส่วนร่วมของประชาชนจะสร้างข้อตกลงและข้อผูกพันอย่างมั่นคงในระยะยาวระหว่างกลุ่มที่มีความแตกต่างกัน ช่วยสร้างความเข้าใจระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ลดข้อโต้แย้งทางการเมืองและช่วยให้เกิดความชอบธรรมต่อการตัดสินใจของรัฐบาล

4. การนำไปปฏิบัติง่ายขึ้น การเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจทำให้ประชาชนมีความรู้สึกของการเป็นเจ้าของการตัดสินใจนั้น และทันทีที่การตัดสินใจได้เกิดขึ้น พวกเขาก็อยากเห็นมันเกิดผลในทางปฏิบัติ และยังอาจเข้ามาช่วยกันอย่างกระตือรือร้นอีกด้วย

5. การหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าที่เลวร้ายที่สุด เพราะการเปิดโอกาสให้ฝ่ายต่าง ๆ เข้ามาแสดงความต้องการและข้อห่วงกังวลตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ จะช่วยลดโอกาสของการโต้แย้งและการแบ่งฝ่าย ที่จะเป็นปัจจัยให้เกิดการเผชิญหน้าอย่างรุนแรงได้

6. การคงไว้ซึ่งความน่าเชื่อถือและความชอบธรรม เนื่องจากกระบวนการตัดสินใจที่โปร่งใสและเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม จะสร้างความน่าเชื่อถือต่อสาธารณชนและเกิดความชอบธรรมโดยเฉพาะเมื่อต้องมีการตัดสินใจในเรื่องที่มีการโต้แย้งกัน

7. การคาดการณ์ความห่วงกังวลและทัศนคติของสาธารณชน เพราะเมื่อเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้มาทำงานร่วมกับสาธารณชนในกระบวนการมีส่วนร่วม พวกเขาจะได้รับรู้ถึงความห่วงกังวล และมุมมองของสาธารณชนต่อการทำงานขององค์กร ซึ่งจะทำให้เจ้าหน้าที่สามารถคาดการณ์ปฏิกิริยาตอบสนองของสาธารณชนต่อกระบวนการและการตัดสินใจขององค์กรได้

8. การพัฒนาภาคประชาสังคม ประโยชน์อย่างหนึ่งของการมีส่วนร่วมของประชาชนคือ ทำให้ประชาชนมีความรู้ทั้งในส่วนของเนื้อหาโครงการและกระบวนการตัดสินใจของรัฐ รวมทั้งเป็นการฝึกอบรมผู้นำ และทำให้ประชาชนได้เรียนรู้ทักษะการทำงานร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต

3.ท่านคิดว่าเราสามารถนำหลักคุณธรรมไปใช้ในการพัฒนาการบริหารงานภาครัฐได้อย่างไร

“การปฏิบัติราชการให้สำเร็จผลที่พึงประสงค์นั้นอกจากจะอาศัยความรู้ความสามารถในทาง วิชาการแล้ว แต่ละบุคคลยังจะต้องมีรากฐานทางจิตใจที่ดี คือความหนักแน่น มั่นคงในสุจริตธรรม และความ มุ่งมั่นที่จะปฏิบัติหน้าที่ให้จนสำเร็จทั้งต้องมีกุศโลบาย หรือวิธีการอันแยบคายในการปฏิบัติงาน ประกอบพร้อม กันด้วยจึงจะสัมฤทธิผลที่แน่นอน และบังเกิดประโยชน์อันยั่งยืนทั้งแก่ตนเองและแผ่นดิน”

พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชการที่ 9

ที่พระราชทานแก่ข้าราชการพลเรือน

เนื่องในโอกาสวันข้าราชการพลเรือน

ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน

การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ในเด็ก คุณธรรมอย่างหนึ่งที่ควรปลูกฝังให้กับเด็ก คือ ความซื่อสัตย์ และการมีวินัย จุดแรกที่เริ่มต้นคือ ครอบครัว พ่อแม่ ผู้ปกครอง ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็ก อบรมสั่งสอนให้เด็กมีระเบียบวินัย รู้จักบทบาท หน้าที่ของตน ต้องปลูกฝังให้ลึกเข้าไปในจิตใจ เมื่อเด็ก เติบ โตขึ้นในอนาคต จะได้เป็นผู้ใหญ่ที่มีค่านิยม และทัศนคติที่ดีในเรื่องความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ผู้อื่น และประเทศชาติ โรงเรียนและสถานศึกษา เป็นสถาบัน ที่ทำหน้าที่ในการศึกษาอบรมบ่มนิสัยให้ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง การสร้างระเบียบวินัยการประพฤติปฏิบัติ ที่ถูกต้องและหัวใจสำคัญของการศึกษา คือทำให้คนเป็นคนดี เป็นคนที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นทั้งต่อสังคมที่ตน อยู่อาศัย และต่อประเทศชาติ การปลูกฝังจิตสำนึกเรื่องความซื่อสัตย์สุจริตก็เหมือนกัน ต้องทำให้เด็กเกิดศรัทธา เชื่อในสิ่งที่ดีและปฏิบัติจนเป็นนิสัย สถาบันสังคมต่าง ๆ ต้องเข้ามามีบทบาทส่งเสริมสนับสนุนการสร้างลักษณะ นิสัยความซื่อสัตย์สุจริต วัดและองค์กรทางศาสนาต่าง ๆ จะมีส่วนเข้ามากล่อมเกลาจิตใจเด็กให้รู้จักผิดชอบ ชั่วดีและเกิดความศรัทธาในการทำดีเมื่อเด็กทำความดี ควรมีรางวัลให้ ถือว่าเป็นการสร้างแรงจูงใจอย่างหนึ่ง เพื่อให้เห็นว่าการทำความดีนั้นเป็นสิ่งที่น่ายกย่องและภาคภูมิใจ นอกจากการสร้างค่านิยมและแรงจูงในการทำความดีแล้ว ต้องสร้างช่องทางให้เด็กได้ทำความดีด้วย อาทิเช่น สนับสนุนให้เด็ก เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการทำความดี ไม่ควรมุ่งเน้นให้ เด็กเรียนหนังสือเพียง อย่างเดียว แต่ควรสนับสนุนให้เด็กได้เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ เช่น กิจกรรมอาสาสมัคร กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ หรือชมรมต่าง ๆ ในการช่วยเหลือสังคม อีกทั้งบุคคลที่เป็นพ่อแม่สามารถส่งเสริมให้เด็กทำความดีภายในบ้าน โดยสร้างบรรยากาศการทำความดีภายในบ้าน ด้วยกิจกรรมสร้างสรรค์ส่งเสริมการทำความดีต่างๆ การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ในเด็ก นอกจากครอบครัว โรงเรียน สถาบันสังคม วัดและองค์กร ทางศาสนาแล้ว หน่วยงานภาครัฐ และ เจ้าหน้าที่ของรัฐ ก็มีส่วนช่วยในการปลูกฝังได้เช่นกัน โดยผ่านสื่อ ประชาสัมพันธ์และกิจกรรมของหน่วยงาน ที่เสริมสร้างทัศนคติ และค่านิยมเกี่ยวกับความซื่อสัตย์สุจริต เช่น การเข้าค่ายอบรมคุณธรรมจริยธรรม การจัดประกวดต่างๆ เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้เข้ามามีส่วนร่วม เป็นการกระตุ้นและให้เด็กและเยาวชนได้ตระหนักถึงภัยร้ายแรงที่เกิดขึ้นจากการทุจริต หากเด็กและเยาวชน ได้รับการปลูกฝังให้มีคุณธรรม จริยธรรม ที่ดีแล้ว เด็กและเยาวชน เหล่านั้นก็จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดี และมี คุณภาพ ในอนาคตข้างหน้าได้เช่นกัน

หิริโอตัปปะมาตรการที่ช่วยเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม หิริโอตัปปะ หมายถึง ความละอายและความเกรงกลัวต่อบาป เป็นธรรมะ สำคัญที่นักปกครองใช้ ควบคุมจิตใจมนุษย์ให้อยู่ในความดี ใช้ในการดำเนินชีวิต และอยู่ร่วมกันของคนในสังคม การดำเนินงาน และ การปฏิบัติหน้าที่ บุคคลที่ไม่ละอายแก่ใจต่อการกระทำผิด ไม่เกรงกลัวต่อผล ของการกระ ท าผิดแล้วนั้น บุคคลนั้นสามารถทำสิ่งเลวร้ายได้ทุกชนิด สามารถสร้างความเดือดร้อน ความเสียหายให้แก่ตนเอง และผู้คน ในสังคมได้ไม่หยุดหย่อน จะเห็นได้จากการทุจริตคอร์รัปชัน ของเจ้าหน้าที่ของรัฐทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ที่มีข่าวออกมาให้เห็น ตลอด การที่เจ้าหน้าที่ของรัฐจะได้ตระหนักถึงหิริโอตัปปะได้นั้น ต้องมีบทกำหนดโทษ ตามกฎหมายที่มีการบังคับใช้อย่างเด็ดขาด เข้ามาเป็นตัวช่วยให้เกิดความตระหนักมากยิ่งขึ้น จึงจะทำให้ เจ้าหน้าที่ของรัฐเกิดความเกรงกลัวที่สมเหตุสมผลได้เป็ นอย่างดี และจะทำให้การทุจริตคอร์รัปชันเกิดขึ้นได้น้อยลง หรือไม่เกิดขึ้นเลย เจ้าหน้าที่ของรัฐควรได้มีการปลูกฝังหิริโอตัปปะ โดยเริ่มต้นจากง่ายๆ คือฝึกตัวเองให้เคารพกฎหมาย และระเบียบของหน่วยงาน ข้อนี้ทำไม่ยาก เพราะการละเมิดกฎหมายและระเบียบนั้น มีบทลงโทษอยู่แล้ว ฝึกหัดตัวเองให้กลัวการถูกลงโทษก่อน ถ้าหากจะพยายามหาอุบายหลีกเลี่ยงกฎหมายและระเบียบ จงระลึก อยู่เสมอว่าท่านอาจจะพลาดพลั้ง หรือถ้าท่านคิดว่าท่านฉลาดเอาตัวรอดได้ จงนึกว่าอาจมีคนฉลาดกว่า และจับได้ ถ้าท่านกำลังจะทำผิดเพราะคิดว่าไม่มีใครรู้เห็น จงจำไว้ว่าความลับไม่มีในโลกนี้ เมื่อฝึกตนให้เป็นคนเคารพและ เกรงกลัวกฎหมายแล้ว ขั้นต่อไปก็ฝึกให้เคารพตนเอง ฝึ กหัดปกครอง ตนเอง การปกครองตนเอง คือ การยับยั้งใจตนเองมิให้กระทำาผิด จงคิดว่าเราเป็ นมนุษย์ซึ่งแปลว่าผู้มีใจสูง มนุษย์เท่านั้นที่อาจฝึกให้รู้จักละอายต่อความชั่วได้ เราเกิดมาเป็นคนแล้วควรทำตนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทำให้ตนเป็นผู้มีศักดิ์ศรีหากใช้สติปัญญาไตร่ตรองอย่างนี้แล้ว เมื่อเคยชินกับการปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบ หลักธรรมข้อนี้ก็เป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถกระทำตามได้

หลักธรรมในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ คุณธรรม จริยธรรม สำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่พึงควรจะมี และใส่ไว้ในใจสำหรับการ ปฏิบัติงาน เพื่อให้การท างานมีประสิทธิภาพ และไม่ก่อ ให้เกิดความเสียหายต่อราชการ ไม่เกิดการทุจริตคอร์รัปชัน เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ดี ควรมีหลักธรรม 4 หลักธรรม ดังนี้

1. พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่าด้วยคุณธรรม 4 ประการ

2. หลักฆราวาสธรรม 4

3. หลักพรหมวิหาร 4

4. หลักธรรมมาภิบาล

หลักธรรมทั้ง 4 ข้างต้น เป็นหลักธรรมที่เจ้าหน้าที่ของรัฐนำไปปฏิบัติในการดำเนินชีวิตประจำวันได้ ตั้งแต่ครอบครัว การทำงาน และสังคม ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถนาไปปฏิบัติได้อย่างต่อเนื่อง จนเกิดเป็น จิตสำนึกในตัวตนเอง

4.การทำงานชิ้นนี้ทำให้ท่านได้เรียนรู้อะไร

การศึกษาและการสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนในหัวข้อคุณธรรมและความเป็นพลเมืองของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร มีการลงพื้นที่ทั้งหมด 4 เขต คือ เขตบางกะปิ เขตบางคอแหลม เขตคลองสาน และเขตสัมพันธวงศ์ การทำงานชิ้นนี้ทำให้เราได้เข้าถึงประชาชนอย่างแท้จริง ทำให้รู้ว่าคนเหมือนคนแต่คนไม่เหมือนกัน แต่ละคนมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันออกไป การให้ความร่วมมือของประชาชนในแต่ละเขตพื้นที่ก็แตกต่างกันมีทั้งให้ความร่วมมือ และไม่ให้ความร่วมมือ การลงพื้นที่จริงในวันนั้นเราต้องกับอุปสรรคเล็กน้อยในสภาพดิน ฟ้า อากาศที่ไม่ค่อยเป็นใจ การเดินทางที่ห่างไกลพอสมควร แต่ทำให้เราได้เห็นถึงความอดทนของสมาชิกแต่ละคนในกลุ่ม การทำงานเป็นการกระจายงานให้สมาชิกในกลุ่มทุกคนได้มีหน้าที่การทำงานที่ต่างกันออกไป จึงทำให้ชิ้นงานนี้สำเร็จได้ด้วยความสามัคคี

ภาพรวมในการสำรวจ

Credits:

Created with images by Georgie Pauwels - "Time to go home" • Transformer18 - "thirsty" • Transformer18 - "tired @ bangkok" • Pexels - "adult asian city" • Transformer18 - "DSC_7805"

Report Abuse

If you feel that this video content violates the Adobe Terms of Use, you may report this content by filling out this quick form.

To report a Copyright Violation, please follow Section 17 in the Terms of Use.