โครงการแสงสว่างเพื่อผู้พิการทางสายตา

โครงการดังกล่าวจัดทำขึ้นตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี หรือ Thailand 4.0 เพื่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เกิดประโยชน์และการนำวัสดุเหลือใช้มาทำโครงการ ดังนั้นโครงการได้จัดทำอุปกรณ์สำหรับเตือนภัยผู้พิการทางสายตา เวลาเดินขึ้นอาคารหรือเข้าห้องน้ำ เพื่อไม่ให้ผู้พิการทางสายตาได้รับอุบัติเหตุในการเดิน ทางคณะผู้จัดทำโครงการจึงได้เลือกพื้นที่ในการทดลองโครงการได้แก่ ศูนย์พัฒนาสมรรถภาพคนตาบอด ต.บางตลาด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี โดยโครงการดังกล่าว มีค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้น 2,200 บาท และระยะเวลาในการดำเนินโครงการทั้งสิ้นเป็นเวลา 19 วัน (เดือนพฤศจิกายน 2559)

หลักการและเหตุผล

ถ้ามองจากยุคปัจจุบันสังคมไทยเริ่มก้าวเข้าสูงยุคสังคมผู้สูงอายุที่เป็นปัญหาสำคัญสำหรับประเทศไทยโดยเฉพาะรัฐบาลที่จะต้องดูแลในเรื่องของเงินสนับสนุนให้กับผู้สูงอายุ แต่ยังมีกลุ่มคนอีกกลุ่มหนึ่งต้องการได้รับความช่วยเหลือหรือการสนับสนุนจากรัฐบาลและเอกชนที่จะสามารถพัฒนาสมรรถภาพและฟื้นฟูสภาพจิตใจรวมไปถึงเวทีการแสดงออกของกลุ่มคนกลุ่มนี้เพื่อไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำในด้านสิทธิ,เสรีภาพและความเสมอภาคในสังคมไทยเพราะปัจจุบันสังคมไทยมีการพบคนที่เห็นแก่ตัวเป็นจำนวนมากในการใช้บริการสาธารณะหรือการดำรงชีวิตประจำวัน เพราะปัจจุบันสังคมไทยมีทั้งผู้ที่มีฐานะระดับสูงเป็นจำนวนมากและผู้ที่อยู่ในฐานะระดับกลางอยู่ที่ปานกลางถึงมากจึงทำให้เกิดผลกระทบแก่ผู้ที่มีรายได้น้อยหรือคนกลุ่มหนึ่งก็คือผู้พิการที่อาจจะเสียผลประโยชน์น้อยถึงมากในการดำรงชีวิตประจำวันและสิทธิในการศึกษารวมไปถึงสิทธิในการใช้บริการสาธารณะซึ่งปัจจุบันประเทศไทยอาจจะยังมองข้ามการให้สิทธิการบริการสาธารณะของกลุ่มนี้น้อยกว่าสิทธิในการรักษาและการศึกษาของผู้พิการทางการมองไม่เห็นหรือผู้พิการด้านอื่นๆ

โดยปัจจุบันประเทศไทยมีผู้พิการทางการมองไม่เห็นที่จำนวน 179,987 คน ซึ่งถ้ามองจากยอดตัวเลขของผู้พิการทางการมองไม่เห็นนี้ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่มากพอสมควร ซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้บริการสาธารณะในการเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหรือภัยอันตรายแก่กลุ่มผู้พิการทางสายตามากพอสมควรเพราะในประเทศไทยมีถนนทั้งขนาดเล็ก-ใหญ่ ที่มีรถสัญจรเป็นจำนวนมากซึ่งตามทางข้ามถนนหรือทางม้าลายมีเพียงแค่สัญลักษณ์ไฟจราจรสำหรับผู้ที่เดินทางเท้าที่บุคคลธรรมดาทั่วไปสามารถมองเห็นและปฏิบัติตามกฎการใช้บริการสาธารณะได้อย่างถูกต้องแต่ถ้ามองในด้านส่วนรวมในบริเวณการบริการของสาธารณะเช่น ทางม้าลายที่มีแต่สัญลักษณ์หรือสัญญาณไฟจราจรสำหรับบุคคลธรรมดาแต่ในขณะเดียวมีผู้พิการทางสายตาจะข้ามถนนดังกล่าวเขาจะปฏิบัติหรือข้ามถนนอย่างไร นี้จึงเป็นสาเหตุในการทำโครงการดังกล่าวเพื่อลดอุบัติเหตุหรือภัยอันตรายแก่ผู้พิการทางสายตาที่เขาสามารถใช้บริการสาธารณะได้อย่างปลอดภัย

ด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อม

จากสภาพแดล้อมตามถนนและบนทางเท้าในสังคมไทยยังพบเจอบุคคลธรรมดาที่เห็นแก่ตัวเป็นจำนวนมาก-น้อย ในการไม่คำนึงนึกผู้อื่นในการใช้บริการสาธารณะ สำหรับในต่างประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่น มีการสร้างหรือปูกระเบื้องเป็นหลายในการนำทางหรือเป็นเครื่องช่วยผู้พิการทางสายตาได้อย่างปลอดภัย เป็นต้น

ด้านเทคโนโลยีและการพัฒนา

สำหรับประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างประเทศญี่ปุ่นก็ได้หันมาดำเนินการเกี่ยวกับการทำเทคโนโลยีในการอำนวยความสะดวกแก่ผู้พิการทางสายตาในการใช้บริการสาธารณะ เช่น ทางข้ามถนนทางม้าลายหรือแยกสัญญาณไฟจราจร และ ป้ายรถเมล์ เป็นต้น ส่วนเทคโนโลยีดังกล่าวเป็นเครื่องที่ไว้ใช้ปฏิบัติกับผู้พิการทางสายตาโดยเฉพาะ เมื่อผู้พิการทางสายตาเดินมาอยู่ในพื้นที่บริเวณดังกล่าวก็จะสามารถกดปุ่มสัญญาณเพื่อส่งสัญญาณให้รถที่วิ่งอยู่บนถนนหยุดเพื่อให้ผู้พิการทางสายตาเดินข้ามถนนได้อย่างปลอดภัยเพราะเครื่องดังกล่าวจะมีเสียงนำทางในการพาผู้พิการไปอีกฝั่งได้อย่างปลอดภัย เป็นต้น

ดังนั้นโครงการสัญญาณจึงให้ความสำคัญกับการลดอุบัติเหตุหรือภัยอันตรายแก่ผู้พิการทางสายตาด้วยการสร้างพื้นที่ที่ให้ผู้พิการทางสายตาสามารถรับรู้และสัมผัสได้เมื่อเขาเดินเหยียบเขาก็จะรับรู้ได้ว่าพื้นที่ที่เขาเหยีบอยู่นั้นเป็นพื้นที่อันตรายหรือเขาๆไม่สามารเดินไปด้วยตนเองได้โดยพื้นที่ดังกล่าวจะใช้พรมใยกันลื่นขนาด 80x120 และมีพลาสติกกันกระแทกวางอยู่ด้านล่างเป็นพื้น เมื่อพื้นที่ดังกล่าวถูกเหยียบหรือกดทับก็จะเกิดเสียงดังขึ้นของพลาสติกกันกระแทกโดยที่ไม่ต้องใช้ไฟฟ้าเพื่อให้สอดคล้องกับการเป็นนวัตกรรมสมัยใหม่ที่ Thailand 4.0 พยายามเน้นการใช้นวัตกรรมเข้ามาช่วยในการดำเนินชีวิตประจำวันและการทำโครงการต่างๆทั้งในภาครัฐและเอกชน โดยโครงการสัญญาณของเราจะดำเนินการตามทางม้าลายในบริเวณซอยขนาดเล็กหรือตามแยกสัญญาณไฟแดงที่มีผู้พิการทางสายตาต้องข้ามถนนบ่อยๆเช่น หน้าสลากกินแบ่งรัฐบาล สนามบินน้ำเพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุแก่ผู้พิการทางสายตาที่มาทำธุระที่สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล และบริเวณสะพานลอยหน้าโรงเรียนศรีสังวาลย์ ปากเกร็ด ที่มีเด็กพิการหรือผู้พิการทางสายตาจำนวนมาก รวมไปถึงป้ายรถเมล์ในเขตชลประทาน อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี

วัตถุประสงค์

1. เพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุและอันตรายแก่ผู้พิการทางสายตา

2. เพื่อให้สอดคล้องกับการเป็นนวัตกรรมสมัยใหม่ Thailand 4.0

3. เพื่อเป็นโครงการนำล่องในด้านการให้ความช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกแก่ผู้พิการทางสายตาในการใช้บริการสาธารณะในอนาคต

เป้าหมาย

1. ช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุแก่ผู้พิการทางสายตาบริเวณการใช้บริการสาธารณะบริเวณทางม้าลายและป้ายรถเมล์ อื่นๆ

2. การเป็นสังคมที่มีความเท่าเทียมกันในการใช้บริการสาธารณะทั้งบุคคลธรรมดาทั่วไปกับผู้พิการทางสายตา

3. การสร้างวัฒนธรรมการเป็นเมืองที่น่าอยู่ร่วมกัน

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1.ได้รับการพัฒนาและเป็นโครงการต้นแบบในการพัฒนาบริการสาธารณะแก่ผู้พิการทางสายตา อื่นๆ ทั้งในและต่างประเทศ

2.ผู้พิการทางสายตาสามารถแยกแยะระหว่างพื้นที่ปลอดภัยกับพื้นที่อันตรายได้ด้วยตนเอง

3.โครงการหรือสินค้าบริการสาธารณะหันมาให้ความสำคัญกับผู้พิการทางสาย อื่นๆ มากขึ้น

วิธีการดำเนินงาน

1.ค้นหาร่วมกันแสดงออกความคิดเห็นในการมองหาปัญหาในสังคม

2.คัดเลือกปัญหาด้วยศักยภาพของกลุ่ม

3.วางแผนโครงการ 2 โครงการ

3.1 โครงการหลัก

3.2 โครงการสำรอง

4.ทดสอบการทำโครงการหลัก / หาแนวทางแก้ปัญหาโครงการสำรอง

5.วิเคราะห์ศักยภาพกับผลของการทดสอบโครงการด้านศักยภาพและกายภาพสิ่งแวดล้อม

6.ลงพื้นที่สำรวจปัญหาและความต้องการในการทำโครงการ

7.ติดต่อสอบถามกับสถานที่ทำโครงการ

8.จัดแบ่งสมาชิกในการตรวจสอบพื้นที่ดำเนินโครงการและการจัดหาอุปกรณ์

9.ลงมือทำโดยมีผู้ควบคุมที่ชัดเจน

10.ทดสอบ/ตรวจสอบสภาพโครงการ

11.ประเมินผลจากผู้พิการทางสายตา

12.วิเคราะห์ความสมบูรณ์ของโครงการและสรุปการดำเนินโครงการ

งบประมาณ

1.พรมกันลื่น PVC ยาว 6 เมตร เมตรละ 299 บาท

2.น็อต 100 บาท

3.พุ ยึดน็อต 80 บาท

ระยะเวลาการดำเนินโตรงการ

- 19 วัน ( เดือนพฤศจิกายน 2559 )

ผู้รับผิดชอบโครงการ

นักศึกษาคณะรัฐประศาสนศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 กลุ่มเรียน 001 (กลุ่มโครงการแสงสว่างเพื่อผู้พิการทางสายตา )

แผนการปฏิบัติงาน

บทที่ 2 การดำเนินโครงการ

1.ค้นหาร่วมกันแสดงออกความคิดเห็นในการมองหาปัญหาในสังคม

โดยทางคณะผู้จัดทำได้มองเห็นความเท่าเทียมในการใช้บริการสาธารณะระหว่างผู้พิการกับประชนชนธรรมดา

2.วางแผนโครงการ

2.1โครงการหลัก

โครงการหลัก คือ ทางคณะผู้จัดทำได้คิดการติดตั้งแผ่นกระเบื้องที่สามารถเป็นสัญญาณในการเดินทางของผู้พิการทางสายตาได้อย่างปลอดภัยโดยการเลือกใช้ กระเบื้องทีมีลักษณะทีมีลวดลายหรือสิ่งทีเขาสามารถสัมผัสได้ว่านี้คือทางเดินสำหรับผู้พิการทางสายตา และได้จัดทำตัวอักษรให้กับประชาชนทั่วไปในการใช้บริการสาธารณะ เช่น บันไดเลื่อน เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบและคำนึงถึงผู้อื่นที่มีธุระเร่งด่วนรวมไปถึงการขึ้นบันไดเลื่อนสำหรับประชาชนที่ไม่รีบก็ชิดซ้าย เพื่อเว้นช่องฝั่งขวาให้กับผู้ที่มีธุระเร่งด่วน และจนกลายเป็นวัฒนธรรมในการขึ้นบันไดเลื่อนของสังคมไทย

2.2 โครงการสำรอง

โครงการสำรอง คือ เป็นโครงการที่คณะผู้จัดทำได้คิดสำรองไว้ล่วงหน้าหากโครงการไม่สามารถดำเนินการได้โดยการยึดหลักยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี หรือ Thailand 4.0 เหมือนโครงการหลักและยังยึดเป้าหมายเดิมคือผู้พิการทางสายตา แต่โครงการสำรองจะเป็นการจัดทำอุปกรณ์สำหรับเตือนภัยผู้พิการทางสายตาโดยใช้วัสดุเหลือใช้มาทำโครงการ เช่น ขวดน้ำ เป็นต้น

4.วิเคราะห์ศักยภาพกับผลของการทดสอบโครงการด้านศักยภาพและกายภาพสิ่งแวดล้อม

ทางคณะผู้จัดทำได้วิเคราะห์สำหรับการเลือกโครงการโดยดูจากกายภาพสิ่งแวดล้อมและระยะเวลาความแข็งแรงทดทานของตัวโครงการ

สรุป ทางคณะผู้จัดทำได้เลือกที่จะดำเนินการโครงการสำรอง เพราะตัวโครงหรืออุปกรณ์มีระยะเวลาในการใช้งานที่นานกว่าและเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์เหลือใช้เพื่อลดค่าใช้จ่าย ในโครงการหลักค่อนข้างจะดำเนินการได้ยากเพราะพื้นที่เป็นพื้นที่สาธารณะซึ่งยากต่อการติดต่อและการดำเนินโครงการ ทางคณะผู้จัดทำจึงได้เลือกดำเนินโครงการสำรองเพื่อความสะดวกและให้เหมาะสมกับเวลาในการดำเนินโครงการมากที่สุด

5.ลงพื้นที่สำรวจปัญหาและความต้องการในการทำโครงการ

คณะผู้จัดทำได้ลงพื้นที่สำหรับการดำเนินโครงการสำรอง คือ ศูนย์พัฒนาสมรรถภาพคนตาบอด และมีการสอบถามถึงความต้องการของผู้พิการทางสายตาว่าบริเวณตรงไหนที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุสำหรับผู้พิการทางสายตามากที่สุด เพื่อให้ได้ข้อมูลและการมาปรับใช้กับโครงการสำรอง

6.ติดต่อสอบถามกับสถานที่ทำโครงการ

สาเหตุที่ต้องติดต่อหลังการสำรวจ เพราะทางคณะผู้จัดทำยังไม่สามารถสรุปได้ว่าจะดำเนินการโครงการที่ใด ซึ่งทางคณะผู้จัดทำโครงการก็เลือก ศูนย์พัฒนาสมรรถภาพคนตาบอด ต.บางตลาด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี

7.จัดแบ่งสมาชิกในการตรวจสอบพื้นที่ดำเนินโครงการและจัดหาอุปกรณ์

8.ลงมือทำโดยมีผู้ควบคุมที่ชัดเจน

โดยทางศูนย์ได้จัด อาจารย์มาควบคุมดูแลและช่วยแนะนำในการติดตั้ง

8.1ลงมือทำ

9.ทดสอบ / ตรวจสอบโครงการ

บริเวณด้านหน้าอาคาร

บริเวณหน้าห้องน้ำ

10.ประเมินผลจากผู้พิการทางสายตา

ทางคณะผู้จัดทำได้ประเมินผลการทดลองจากการให้ผู้พิการทางสายตาได้ทดลองใช้และการสังเกตพฤติกรรมขณะเดินถึงบริเวณอุปกรณ์

11.วิเคราะห์ความสมบูรณ์ของโครงการและสรุปการดำเนินโครงการ

ทางคณะผู้จัดทำได้วิเคราะห์ความแข็งแรงและทดทานของอุปกรณ์ในระยะเวลาการใช้งานว่าจะสามารถใช้ได้ในระยะเวลา 1ปี ครึ่ง - 2 ปี และการพัฒนาต่อไปในอนาคต

บทที่ 3 ผลการดำเนินงาน

บริเวณด้านหน้าอาคาร

จากการทดลองและสังเกตพบว่าเมื่อผู้พิการทางสายตาเดินมาถึงบริเวณพื้นที่อุปกรณ์ก็สามารถช่วยเหลือตนเองได้เบื้องต้น เพราะผู้พิการทางสายตาสามารถรับรู้และเข้าใจได้ว่าตนอยู่ในพื้นที่อันตรายและตนควรปฏิบัติอย่างไร ซึ่งแตกต่างจากก่อนการทำโครงการเมื่อผู้พิการทางสายตาเดินมาถึงบริเวณดังกล่าวก็ไม่สามารถรับรู้ได้ว่าพื้นที่ดังกล่าวมีลักษณะอย่างไรและบางคนก็เดินเลยบริเวณทางขึ้นอาคารไปเพราะไม่มีวัตถุที่ให้ผู้พิการทางสายตารับรู้และสัมผัสได้

จากการทดลองทางคณะผู้จัดทำก็พบว่าผู้พิการทางสายตา 3-4 คน ในการทดลองจาก 5 คน สามารถรับรู้และปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ของโครงการได้ดี

ทางคณะผู้จัดทำโครงการต้องขอขอบคุณศูนย์พัฒนาสมรรถภาพคนตาบอดที่เปิดโอกาสให้กับทางคณะผู้จัดทำโครงการได้ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์ตามเป้าหมายของทางคณะผู้จัดทำโครงการ

บทที่ 4 สรุปผลและข้อเสนอแนะ

4.1การประเมินผลความสำเร็จโครงการ

4.1.1 ใช้การสังเกต

หลังจากการติดตั้งอุปกรณ์พบว่าผู้พิการทางสายตาสามารถพึ่งพาตนเองได้ในระยะเบื้องต้น เช่น การก้าวขึ้นบันได การเดินเข้าห้องน้ำ เป็นต้น

ดังนั้นอุปกรณ์หรือโครงการดังกล่าวสามารถทำให้คนพิการทางสายตาได้อย่างสะดวกและปลอดภัยในบริเวรดังกล่าว หลังจากที่ติดตั้งอุปกรณ์พบว่า ผู้พิการทางสายตาหรือบุคลากรมีความพึงพอใจในระดับนึงกับโครงการดังกล่าว

4.1.2 การทดสอบ

ระหว่างการติดตั้งอุปกรณ์ ก็ได้ให้ผู้พิการทางสายตาได้ทดลองเดินในพื้นบริเวณที่ติดตั้งอุปกรณ์ว่ามีความพอใจหรือเกิดการกลัว

จากการทดลองพบว่า ผู้พิการทางสายตาสามารถรู้และเข้าใจในการใช้อุปกรณ์ดังกล่าว จากผู้ทดลอง 5 คนสามารถเข้าใจในการใช้อุปกรณ์หรือการหัดเดินจากอุปกรณ์ได้ 3-4 คน

4.2การบรรลุวัตถุประสงค์

จากโครงการดังกล่าวสามารถช่วยให้ผู้พิการทางสายตาสามารถรับรู้และสัมผัสได้ในการเดินอย่างปลอดภัยและอาศัยอุปกรณ์จากโครงการดังกล่าว

นอกจากนี้โครงการดังกล่าว ยังสามารถเดินตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือ จะพูดได้ว่าโครงการดังกล่าวยึดหลัก Thailand 4.0 ในการดำเนินโครงการ โดยมีการประดิษฐ์นวัตกรรมขึ้นมาใหม่ โดย

เน้นการเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ความยั่งยืนโดยโครงการได้นำหลังเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ เช่น การนำวัสดุอุปกรณ์จาก กองขยะ ได้แก่ ขวดน้ำ เป็นต้น

ในการนำกลับมาใช้ประโยชน์ให้เกิดความยั่งยืนและประโยชน์เพื่อส่วนรวม ในอนาคตหวังว่าโดยการจะได้รับการพัฒนาและต่อยอดจากหน่วยงานหรือกลุ่มอื่นๆ ในการนำไปพัฒนาเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น โดยการได้รับคำเชิญในการไปติดตั้งอุปกรณ์ให้กับเทศบาล เช่น โครงการได้รับข้อเสนอจากเทศบาลนครปากเกร็ดให้ไปติดตั้งในพื้นที่บริเวณตลาดปากเกร็ด เป็นต้น

4.3ปัญหา

4.3.1 ด้านสภาพแวดล้อม

พื้นและบริเวณ ไม่มีความเหมาะสมกับโครงการหลัก ที่ทางคณะจัดทำ เพราะวัสดุอุปกรณ์กับพื้นที่ไม่มีความเหมาะสมกัน

4.3.2 ด้านเทคนิค

อุปกรณ์ที่ติดตั้ง ยังไม่มีชิ้นส่วนประกอบที่สมบูรณ์

4.3.3อุปสรรค ด้านราคาสินค้า 1 อุปกรณ์

อุปกรณ์และวัสดุในแต่ละร้านมีราคาสินค้าที่แตกต่างกัน

4.3.2.1 ด้านการติดต่อ

เนื่องจากทางคณะผู้จัดทำได้เปลี่ยนไปใช้โครงการสำรอง เพื่อสามารถทำให้โครงการสำเร็จไปได้ด้วยดี และ โครงการสำรองแตกต่างจากโครงการหลักคือ ต้องการพื้นเพื่อให้อุปกรณ์มีความแข็งแรงทนทาน จึงจำเป็นจะต้องทำหนังสือเพื่อจัดทำโครงการให้สำเร็จจำก่อให้เกิดความล่าช้าในการทำโครงการ

4.3.2.2 ด้านตัวโครงการ

โครงการหลักมีระยะเวลาในการใช้และมีอุปสรรคในการเปลี่ยนวัสดุ ขณะที่อุปกรณ์ถูกติดตั้งในสถานะแข็งแรง ก็จะล่าช้าในเวลาเปลี่ยนวัสดุที่ทำให้เกิดเสียงขณะถูกกดทับจากการเหยียบ จึงทำให้ทางคณะตัดสินใจเปลี่ยนมาดำเนินการโครงการสำรองที่มีประสิทธิภาพและระยะเวลาของตัวอุปกรณ์นานกว่าโครงการหลัก จึงก่อให้เกิดความล่าช้าในการทำโครงการ

4.4ข้อเสนอแนะ

หวังว่าจะมีหน่อยงานหรือกลุ่มอาสาสมัครนำโครงการดังกล่าวไปต่อยอดหรือสามารถต่อไปโดยการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย เป็นต้น

ทางคณะผู้จัดทำโครงการ การพัฒนาโครงการในอนาคตอยากจะให้มีอุปกรณ์ดังกล่าวตามบริเวณสาธารณะ เช่น ทางม้าลาย และ สะพานลอย เป็นต้น เพื่อประโยชน์ละความปลอดภัยของผู้พิการทางสายตาในการใช้บริการสาธารณะ

สุดท้ายทางคณะผู้จัดทำหวังว่าประเทศเพื่อนบ้านและชาวต่างชาติยอมรับและมีการนำไปใช้และพัฒนาต่อไป

นาย นพรัตน์ แก้วมณี 550112010248

นาย พิษณุ ศรีปัญญานนท์ 560112010013

นาย มงคล ศีลปี 560112010020

นาย ธวัชชัย เพ็ชร์ผ่อง 560112010025

นาย ฆนาพงษ์ เอียดศร 560112010032

นาย พิษณุ สุขสนิท 560112010033

นาย โสภณ บุญเจริญ 560112010055

นาย วิษณู แสงทอง 560112010063

นางสาว วชิราภรณ์ นาคสวัสดิ์ 590312010151

Created By
Phitsanu Suksanit
Appreciate

Made with Adobe Slate

Make your words and images move.

Get Slate

Report Abuse

If you feel that this video content violates the Adobe Terms of Use, you may report this content by filling out this quick form.

To report a Copyright Violation, please follow Section 17 in the Terms of Use.