การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การนอนตื่นสาย

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการนอนตื่นสาย

"ข้อมูลบุคคลเป้าหมายในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม"

นางสาว ป่านจรี กะจะนอก 570112010070

ข้อมูล PROJECT

พฤติกรรมก่อนการเปลี่ยนแปลง

Make a difference project : ระยะที่ 1 เหตุผลและเป้าหมาย

บุคคลที่ต้องการ Make a difference

บุคคลเป้าหมายมีนิสัยชอบนอนตื่นสายเนื่องจากเพื่อนชอบเล่นโทรศัพท์ติดโซเชียลดูหนังเล่นเกมก่อนนอนเป็นประจำส่งผลทำให้พักผ่อนไม่เพียงพอและเกิดการนอนตื่นสายนอกจากนั้นยังทำให้ไปเรียนสายและไม่รู้เรื่องในเนื้อหาของวิชานั้นๆ

  1. เหตุผลในการพัฒนา : ผมจะพัฒนานางสาวป่านจรี กะจะนอกให้มีการเล่นโทรศัพท์น้อยลงและตักเตือนให้นอนเป็นเวลา นอนอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงเพื่อที่นางสาวป่านจรีจะได้ตื่นไปเรียนและเรียนอย่างเข้าใจไม่ง่วงเหมือนแต่ก่อน
  2. สภาพปัญหาก่อนการพัฒนา : นอนตื่นสายทุกวันบางวันก็ตื่นไปเรียนไม่ทันทำให้ส่งผลเสียกับตัวเองและการเรียนในแต่ละวิชา
  3. เป้าหมายในการพัฒนา : เห็นการเปลี่ยนแปลงโดยที่นางสาวป่านจรีนอนเป็นเวลาและตื่นตามที่กำหนดและไปเรียนได้ทัน
  4. ปัญหาและอุปสรรคที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในการทำ Project : เนื่องจากปัจจุบันได้มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยและทำให้ติดโทรศัพท์และโซเชียลมากยิ่งขึ้นและส่งผลให้นอนดึกเหมือนเช่นเคย

"พฤติกรรมหลังการเปลี่ยนแปลง"

Make a difference project : ระยะที่ 2 รายงานความก้าวหน้า
  1. เทคนิคที่เลือกใช้ในการพัฒนาเป้าหมาย : การปรับตน (Self-modification) การปรับตนจะสามารถทำได้สำเร็จต้องอาศัยองค์ประกอบต่อไปนี้ คือ การรู้จักตน (Self-knowledge) การวางแผน (planing) การรวบรวมสารสนเทศ (information gathering) และการปรับเปลี่ยนแผน โดยอาศัยสารสนเทศใหม่ ในการปรับตนมีขั้นตอนดังนี้ คือ1. การกำหนดเป้าหมาย และกำหนดพฤติกรรมที่ต้องการจะเปลี่ยนตามเป้าหมายในขั้นนี้เริ่มด้วยการสังเกตตน เพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับตน ในการที่จะรู้จักตนเป็นกุญแจสำคัญในการปรับตน การกระทำทุก ๆ อย่าง อันได้แก่ พฤติกรรม ความคิด ความรู้สึก ตลอดจนการแสดงออก ในสถานการณ์ต่าง ๆ จะต้องได้รับการสังเกตอย่างจริงจัง และเมื่อเรา สังเกตุ อย่างจริงจัง จะค้นพบความจริง หลังจากนั้น จึงตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน2. สังเกตพฤติกรรมเป้าหมาย ในขั้นนี้ผู้ที่ปรับตนจะต้องมีการบันทึก โดยบันทึกพฤติกรรมเป้าหมาย มีการแจงนับว่า มีการแสดงพฤติกรรม เป้าหมายนั้นบ่อยเพียงใด และพยายามค้นให้พบว่า อะไรที่กระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมเหล่านั้น และผลตอบแทนที่ได้จากการกระทำ พฤติกรรม เหล่านั้น คืออะไร ในการบันทึกพฤติกรรม
  2. ขั้นตอนที่ดำเนินการพัฒนาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม : การใช้เทคนิคฝึกปฏิบัติการกำหนดตนเองเผื่อไม่ให้เล่นโทรศัพท์นานจนเกิดไปและเลยเวลานอน
  3. บันทึกผลการพัฒนาการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในช่วง 2 เดือน (1 มีนาคม-1 เมษายน 60) : ในช่วงที่ 1 นางสาวป่านจรียังไม่ค่อยโอเคและโวยวายเพราะได้เล่นโทรศัพท์น้อยและต้องนอนไว ในช่วง 2 อาทิตย์แรกทำให้ตื่นเร็วแต่ยังง่วงๆอยู่ไม่สดชื่นไปเรียนแล้วยังมีอาการหลับในบางครั้ง หลังจากผ่านช่วง 2 อาทิตย์แรกมานางสาวป่านจรีมีการพัฒนาเล่นโทรศัพท์น้อยลงและนอนเป็นเวลามากขึ้นทำให้เรียนเข้าใจเนื้อหาของวิชาต่างๆดีขึ้น ในช่วงสัปดาห์ต่อมาจนถึงสัปดาห์สุดท้ายก่อนกิจกรรมจะสิ้นสุดลงมีการพัฒนาที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  4. ปัญหาและอุปสรรคที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในการทำ Project : เนื่องจากพฤติกรรมการนอนตื่นสายของนางสาวป่านจรี ได้สะสมมาเป็นระยะเวลานานทำให้การปรับเปลี่ยนเป็นไปค่อนข้างยาก และอย่างที่ทุกคนรู้กันว่าโลกโซเชียลเข้ามามีอิทธิพลกับคนไทยเป็นอย่างมากโดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น

สิ่งที่ทำให้การพัฒนาประสบความสำเร็จ

อันดับแรกที่กิจกรรมนี้ประสบความสำเร็จได้นั้นเป็นเพราะนางสาวป่านจรี ที่ปฎิบัติตามขั้นตอนที่ผมได้กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด จึงทำให้กิจกรรมนี้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้อย่างสมบูรณ์

ข้อมูลเจ้าของ PROJECT

นาย กสินชัย สว่างศรี 570112010061

Credits:

Created with images by dagon_ - "baby girl sleep"

Report Abuse

If you feel that this video content violates the Adobe Terms of Use, you may report this content by filling out this quick form.

To report a Copyright Violation, please follow Section 17 in the Terms of Use.