เกษตรปราณีตสร้างสรรค์ สู่น้องสุพรรณบ้านเรา Created by Public Administration ,Dhurakij Pundit University

หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทยส่งผลกระทบต่อการประกอบอาชีพของคนในประเทศ มีสาเหตุทั้งจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก ได้แก่ ปัญหาทางด้านการเมือง ภัยธรรมชาติ ขาดแคลนเงินทุน โดยปัจจัยภายนอกมาจาก ราคาน้ำมัน วิกฤตเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า ความตกต่ำของเศรษฐกิจโลก เป็นต้น เมื่อเศรษฐกิจโลกเปลี่ยนแปลงย่อมส่งผลกระทบถึงเศรษฐกิจประเทศไทย รวมทั้งเศรษฐกิจของชุมชนด้วย ซึ่งเศรษฐกิจของชุมชน คือการทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจของคนในชุมชน ได้แก่ การผลิต การบริโภค การซื้อขายแลกเปลี่ยนผลผลิต ซึ่งมีลักษณะเป็นองค์รวมทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมที่มีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของคนในชุมชน ปัญหาความยากจน ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศมีชีวิตความเป็นอยู่ในระดับพอยังชีพ ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำหรือถดถอย ทำให้การลงทุนและการจ้างงานลดน้อยลง

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์ โรงเรียนเป็นสถานที่ในการผลิตพลเมืองที่มีคุณภาพของชาติ เป็นแหล่งการเรียนรู้ พัฒนาทางด้านสติปัญญา ทางด้านร่างกาย ทางด้านอารมณ์ และทางด้านสังคม ในสังคมปัจจุบันมีความเจริญและพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีมากมาย โรงเรียนบ้านโคก 7 ลูก เป็นโรงเรียนขนาดเล็กขาดแคลนด้านงบประมาณในการปรับปรุงและพัฒนาในส่วนที่ยังขาดเหลือ คือ การปรับปรุงและพัฒนาแปลงต่อยอดแปลงเกษตร เนื่องจากทางโรงเรียนต้องแบ่งงบประมาณไว้จ่ายค่าน้ำค่าไฟและส่วนหนึ่งเก็บไว้ใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงโรงเรียน และทางโรงเรียนมีบุคลากรไม่เพียงพอในการที่จะลงมาดูแลได้อย่างทั่วถึง สภาพพื้นที่เป็นดินเหนียวปนหินจึงยากแก่การปลูกพืช ทำให้แปลงเกษตรของทางโรงเรียนจึงไม่ประสบความสำเร็จ

ดังนั้น คณะผู้จัดทำจึงได้จัดทำโครงการเกษตรปราณีตสร้างสรรค์ สู่น้องสุพรรณบ้านเรา เพื่อให้นักเรียนได้มีความรู้ความเข้าใจทฤษฎีเกษตรปราณีต และการลงมือปฏิบัติเรื่องการทำเกษตรที่ใช้พื้นที่น้อยแต่ให้ประโยชน์หลายอย่างแล้วยังสามารถสร้างรายได้ให้กับ โรงเรียน ชุมชน ครอบครัว และสามารถนำความรู้ไปใช้ในการการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพต่อไปในอนาคตเกิดความยั่งยืน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจากการทำการเกษตรปราณีต

มอบความรู้ ณ โรงเรียนบ้านโคก 7ลูก

วัตถุประสงค์

1.เพื่อให้น้องมีความรู้ความเข้าใจในการทำเกษตรปราณีต

2.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีรายได้เพิ่มและลดรายจ่ายในโรงเรียน

3.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน

before

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1.นักเรียนในโรงเรียนได้รู้วิธีการทำเกษตรแบบปราณีต

2.นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมโครงการไปใช้เป็นแนวทางการดำเนินชีวิต

เป้าหมาย/ค่าดัชนี

นักเรียนสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง 85 เปอร์เซ็นต์ ของนักเรียนทั้งหมด

before

ขั้นตอนการดำเนินงาน

1.ประชุมกลุ่ม

2.ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับโครงการเกษตรปราณีต

3.ติดต่อประสานงานกับโรงเรียน

4.ออกแบบแปลงเกษตรเตรียมอุปกรณ์

5.สาธิตการทำเกษตรปราณีต

6.ประเมินผล

7.ปิดโครงการ

after

พื้นที่ในการดำเนินงาน

โรงเรียนบ้านโคก 7 ลูก ตำบลบางตาเถร อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี

ระยะเวลา

ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2559 – 30 พฤศจิกายน 2559

งบประมาณ

เมล็ดผัก 140 บาท

ค่าก้อนเห็ด 200 ก้อน 1,600 บาท

ค่าปุ๋ย 1 กิโลกรัม 15 บาท

ค่าการเดินทาง 600 บาท

ค่าชั้นวางก้อนเห็ด 90 บาท

ค่าขนม-ไอศกรีม 1,277 บาท

ค่าสมุด-ดินสอ 374 บาท

รวมทั้งหมด 4,096 บาท

หวานเย็น

การควบคุมและประเมินผล

1. ทำแบบประเมินก่อน-หลังการสาธิต

2. ประเมินผลจากการสัมภาษณ์ ผู้เข้าร่วมโครงการ

3. แบบประเมินผลโครงการ/กิจกรรม

GIVING

บุคคลต้นแบบในการใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง(เกษตรปราณีต)

พ่อคำเดื่อง ภาษี เกิดเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2495 เป็นลูกคนที่ 6 ในบรรดาลูกๆ 7 คน ของพ่อไพร และแม่สี ภาษี แต่งงานกับนางอมร งามชัด ลูกสาวผู้ใหญ่บ้านบ้านหนองแก ตำบลช่องสามหมอ อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ มีลูกชาย 2 คน และลูกสาว 1 คน ทำเกษตรธรรมชาติในพื้นที่ 50 ไร่ ปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก ตั้งแต่การปลูกไผ่ ขุดบ่อเลี้ยงปลา ปลูกพืชนานาชนิด ซึ่งชีวิตก็อยู่ได้อย่างมีความสุข
"เราต้องคิดว่าเราคือผู้แพ้สงครามเกษตรเชิงเดี่ยว ใช้สารเคมีจนดินเสื่อมหมดแล้ว เป็นหนี้สินพ้นตัว หนีมาพื้นแผ่นดินใหม่ มีพริก มะเขือ ผักชนิดต่าง ๆ ไก่บ้าน ปลาในบ่อ เป็นพลทหาร จะระดมพลออกรบเมื่อไหร่ก็ได้ มีพืชสมุนไพรผักพื้นบ้านเป็นยา ใช้รักษายามเจ็บไข้ มีลูกยอ กล้วย เป็นนายสิบ มีไผ่เป็นนายร้อย มียางนา ตะเคียนทอง เป็นนายพัน นายพล โดยมีเจ้าของสวนเป็นจอมทัพ สะสมกำลังอยู่ในพื้นที่เล็ก ๆ เพียงหนึ่งไร่ ไม่ต้องหวังร่ำรวย เอาแค่พออยู่พอกิน หวังสร้างทรัพย์สินทางปัญญาเป็นมรดกให้ลูกหลาน ทำอย่างนี้เท่านั้นที่จะนำพาชีวิตครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติไปสู่ชัยชนะได้ "

สรุปได้ว่า เราก็ได้พูดถึงองค์ประกอบหลายองค์ประกอบ ที่จะทำให้การเพาะปลูกของเรา ทำได้อย่างยั่งยืน ซึ่งเมื่อวิเคราะห์ดูแล้ว จะทำให้เราเข้าใจได้ว่า ทำไมคนโบราณ จึงได้ปลูกพืชหลายๆ ชนิดปนกัน ถ้าหากว่า เรารู้ว่า คนโบราณของเรานั้น ทำอะไรบ้าง เราก็จะได้ทำตาม ถึงแม้เราจะไม่รู้เหตุผล เราก็อาจจะทำตามได้ ไม่เสียหายอะไร

นอกจากนี้เราก็ได้แสดงรูปแบบของการผสมพันธุ์พืชต่างๆ และแนวทางของการเพาะปลูกด้วยการผสม เมล็ดพันธุ์ การที่เราจะใช้ พืชพันธุ์หลายๆ ชนิดปนกัน และก็หว่านในครั้งเดียว นี่จะเป็นประโยชน์ เนื่องจาก เราจะไม่ต้อง เสียแรงงานมาก เราไม่ต้องลงทุนมาก ถ้าหากว่า เราสามารถออกแบบ ได้อย่างดี เราก็จะได้พื้นที่ ที่สามารถ ทำการเพาะปลูก ได้ยั่งยืนถาวร ซึ่งอาจจะต่อเนื่อง ได้หลายๆ ด้าน

ถ้าหากว่าการทำในพื้นที่ใหญ่ หรือต้องการขยายพื้นที่ออกไป การใช้เมล็ดพันธุ์จะดีกว่า การปลูกเป็นต้นๆ และต้นทุน ก็จะถูกกว่า แต่ถ้าใช้เมล็ดหว่านคลุมไปหมด ต้นทุนจะสูงมาก อีกทั้งพืชบางชนิด ต้องเลี้ยงในโรงเพาะชำก่อน ต้องเพาะ และเอาลงดินภายหลัง เพราะพืชเหล่านี้จะอ่อนแอ และต้องการการดูแลรักษา และให้น้ำ พืชพวกนี้ จะเป็นพืชบุกเบิก หรือเป็นพืช ที่เป็นพี่เลี้ยงพืชอื่นได้ยาก

YEAH!!!!

Credits:

Created with images by Broin - "wheat wheat field cereals"

Made with Adobe Slate

Make your words and images move.

Get Slate

Report Abuse

If you feel that this video content violates the Adobe Terms of Use, you may report this content by filling out this quick form.

To report a Copyright Violation, please follow Section 17 in the Terms of Use.