วันธรรมสวนะ วันสำคัญทางศาสนา

วันธรรมสวนะ

วันธรรมสวนะ หมายถึง วันที่ชาวพุทธเข้าวัดทำบุญตักบาตร รักษาศีล เจริญภาวนา และฟังธรรมเทศนา เรียกกันในปัจจุบันว่า วันพระ หรือ วันอุโบสถ ในประเทศไทยเดือนหนึ่งกำหนดให้มีวันพระไว้ 4 วัน คือ วันขึ้น 8 ค่ำ วันขึ้น15 ค่ำ วันแรม 8 ค่ำ วันแรม 15 ค่ำ ( หรือ 14 ค่ำในบางเดือน )

ประวัติความเป็นมา

ประวัติวันธรรมสวนะ. ในสมัยพุทธกาล พระเจ้าพิมพิสารได้เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และกราบทูลว่า "นักบวชศาสนาอื่นเขามีวันประชุมสนทนาเกี่ยวกับหลักธรรมคำสั่งสอนในศาสนาของเขา แต่ว่าในศาสนาพุทธยังไม่มี" พระพุทธองค์จึงทรงอนุญาตให้ภิกษุสงฆ์ประชุมสนทนาและแสดงพระธรรมเทศนาแก่ประชาชนในวัน ๘ ค่ำ ๑๔ ค่ำ และ ๑๕ ค่ำ

สวนะคือ

คำว่า "สวนะ" แปลว่า การฟัง และคำว่า "ธรรมสวนะ" แปลว่า การฟังธรรม นั่นคือวันธรรมสวนะก็แปลว่า กำหนดประชุมฟังธรรม หรือพูดตามภาษาชาวบ้านทั่วไปว่า วันไปฟังเทศน์หรือวันพระ
ปฏิบัติตน 1)ทำบุญตักบาตร ให้ทานอื่นๆ เช่น ถวายสังฆทาน 2.)สมาทานศีล และรักษาศีล เช่น ศีล 8 หรือ ศีล 5 3)เจริญภาวนาด้วยการทำจิตใจให้สงบเป็นสมาธิ 4)ฟังธรรมเทศนาด้วยความตั้งใจและความสงบ
หลักธรรมสำคัญที่ชาวพุทธทุกคนควรนำไปปฏิบัติในวันธรรมสวนะคือ การให้ทาน การรักษาศีล และการเจริญจิตภาวนา โดยเฉพาะในครอบครัวผู้นำครอบครัวควรจะนำสมาชิกในครอบครัวไปบำเพ็ญกุศล ทำบุญตักบาตร บริจาคทาน หรือร่วมกันปฏิบัติธรรมที่วัด รักษาศีล ไหว้พระ สวดมนต์ฟังธรรม เจริญภาวนา นอกจากนั้นอาจปรึกษาหารือหาแนวทางในการป้องกันและการแก้ปัญหาในครอบครัว โดยใช้หลักธรรม เช่น ส่งเสริมให้เกิดการลด ละ เลิกอบายมุข เป็นต้น
กิจกรรมที่พุทธศาสนิกชนพึงปฏิบัติในวันพระ แก้ไข สิ่งที่พุทธศาสนิกชนพึงกระทำในวันพระคือการถือศีลอุโบสถ(ศีล8ที่อาราธนาในวันพระเป็นเวลา1วัน1คืน หรือ3วัน3คืน และไม่จำเป็นต้องอยู่วัด)อย่างเคร่งครัด พุทธศาสนิกชนทั้งหลายพึงสวดมนต์ ทำสมาธิ นั่งฌาน ในเวลาว่างด้วย เพื่อการเข้าถึงซึ่งพระนิพพาน

ขอบพระคุณค่ะ

Made with Adobe Slate

Make your words and images move.

Get Slate

Report Abuse

If you feel that this video content violates the Adobe Terms of Use, you may report this content by filling out this quick form.

To report a Copyright Violation, please follow Section 17 in the Terms of Use.