องค์ประกอบ และ หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์

คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ทำงานตามชุดคำสั่ง เพื่อทำงานตามขั้นตอน และประมวลผลออกมาตามต้องการ มีความรวดเร็ว และความแม่นยำในการทำงาน

ประเภทของคอมพิวเตอร์

1.ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถสูงที่สุดในกลุ่มมีขนาดใหญ่ สามารถประมวลผลข้อมูลในปริมาณมากรวมถึงการประมวลผลงานที่มีรูปแบบอันซับซ้อน มีความรวดเร็วในการคำนวณ เช่น งานด้านพยากรณ์อากาศ งานทางด้านวิศวกร และงานด้านวิทยาศาสตร์ เป็นต้น

SUPER COMPUTER

2.เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องที่มีขนาดใหญ่รองลงมา นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรมสำหรับบริษัทใหญ่ๆ หรือองค์กรขนาดใหญ่เช่น บริษัท IBM เป็นต้น มักนำไปใช้งานเป็นเครื่องศูนย์กลาง และกระจากใช้งานให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ เช่น ระบบ ATM เป็นต้น

MAINFRAME COMPUTER

3.มินิคอมพิวเตอร์ MINICOMPUTER เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดกลาง ระหว่าไมโครคอมพิวเตอร์ และ เมนเฟรม เหมาะสำหรับองค์กรขนาดกลางและเล็ก

MINICOMPUTER

4.ไมโครคอมพิวเตอร์ เรียกสั้นๆว่า คอมพิวเตอร์เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กที่สุด ราคาถูกที่สุด สามารถหาซื้อมาใช้งานส่วนบุคคลได้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ( Personal Computer ) หรือ เครื่องพีซี ( PC )

MICROCOMPUTER
หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
  • รับข้อมูลและคำสั่ง (INPUT) คอมพิวเตอร์จะทำงานได้ก็ต่อเมื่อมีการป้อนข้อมูลหรือคำสั่งผ่านหน่วยรับข้อมูลต่างๆ เช่น แป้นพิมพ์ เม้าส์ เป็นต้น
  • ประมวลผลข้อมูล (PROCESS) เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องอาศัยชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้ในการคำนวณ เปรียบเทียบ หรือ วิเคราะห์ โดยนำข้อมูลที่รับเข้ามาไปประมวลผลที่หน่วยประมวลผลกลาง
  • แสดงผลข้อมูล (OUTPUT) ผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลเรียบร้อยแล้ว สามารถแสดงออกในรูปแบบอื่นๆ ผ่านหน่วยแสดงผล เช่น จอภาพ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น
  • จัดเก็บข้อมูล (STORAGE) นอกจากนี้ผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลยังสามารถจัดเก็บไว้ใช้ประโยชน์ได้อีก โดยจัดเก็บข้อมูลไว้ในหน่วยเก็บข้อมูล เช่น ฮาร์ดดิสก์ แฟลชไดรฟ์ แผ่นซีดี เป็นต้น
การทำงานแบ่งเป็น 2 หน่วย
  1. หน่วยควบคุม ( CONTROL UNIT ) ทำหน้าที่อ่านทีละคำสั่ง เพื่อควบคุมประสานงานการทำงานของหน่วยต่างๆ
  2. หน่วยคำนวณและตรรกะ ( ARITHMETIC / LOGICAL UNIT : ALU ) ทำหน้าที่ประมวลคำสั่งด้วยวิธีการทางคณิตศาสตร์
  • ขั้นที่ 1 หน่วยควบคุมเข้าถึงข้อมูล และคัดแยกคำสั่งจากหน่วยความจำ (Fetch)
  • ขั้นที่ 2 แปลรหัสคำสั่ง (Decode)
  • ขั้นที่ 3 ปฏิบัติตามคำสั่งที่ตีความได้ (Execute)
  • ขั้นที่ 4 เก็บผลลัพธ์ที่ประมวลผลได้ไว้ในหน่วยความจำหลัก (Storage)3.หน่วยความจำหลัก ( MAIN MEMORY UNIT ) เป็นหน่วยเก็บข้อมูลที่มีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลสูง ใช้เป็นที่เก็บข้อมูลก่อนนำไปประมวลผล เก็บคำสั่งของโปรแกรมขณะใช้งาน และเก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลก่อนนำไปแสดงผล

3.หน่วยความจำหลัก ( MAIN MEMORY UNIT ) เป็นหน่วยเก็บข้อมูลที่มีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลสูง ใช้เป็นที่เก็บข้อมูลก่อนนำไปประมวลผล เก็บคำสั่งของโปรแกรมขณะใช้งาน และเก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลก่อนนำไปแสดงผล

  • 3.1หน่วยความจำหลักแบบอ่านได้อย่างเดียว (ROM) เรียกว่าหน่วยความจำถาวร ได้ถูกติดตั้งไว้บนแผงวงจรหลัก ไม่สามารถนำข้อมูลอื่นมาลงในรอมได้
  • 3.2 หน่วยความจำหลักแบบแก้ไขได้ (RAM) เรียกว่าหน่วยความจำชั่วคราว ใช้เก็บข้อมูลและคำสั่ง มีหน้าที่จำคำสั่งที่เป็นโปรแกรมและข้อมูลที่จะทำการประมวลผลในขณะที่มีการเปิดเครื่องและมีไฟฟ้าอยู่เท่านั้น สามารถซื้อติดตั้งภายหลังได้
  • 3.3หน่วยความจำแคช เป็นหน่วยความจำแรมที่เพิ่มความเร็วในการอ่านและเขียนข้อมูลของหน่วยความจำประเภทดีแรม ทำหน้าที่เก็บข้อมูลและคำสั่งที่มีการใช้งานบ่อย
  • 3.4หน่วยความจำวีดิโอแรมหรือวีแรม ใช้สำหรับการแสดงผล ซึ่งติดตั้งมากับการ์ดแสดงผลหรือการ์ดจอที่มีราคาแพง คุณภาพดี
  • 4.หน่วยความจำสำรอง (SECONDARY MEMORY UNIT) ทำหน้าที่เก็บข้อมูลตามคำสั่งของผู้ใช้ มีความจำมากกว่าหน่วยความจำหลัก เก็บแบบถาวร ข้อมูลจะไม่สูญหายเมื่อปิดคอม เช่น ฮาร์ดดิสก์ แผ่นดิสก์เก็ต แผ่นซีดี แฟลชไดรฟ์ เป็นต้น
  • 5.หน่วยแสดงผล ( OUTPUT UNIT ) ทำหน้าที่แสดงผลที่ได้จากการประมวลผลข้อมูลที่เตรียมไว้ในหน่วยความจำหลัก เช่น จอภาพ ลำโพง เครื่องพิมพ์
ระบบทางขนส่งข้อมูลหรือบัส
  • การรับส่งข้อมูล จากหน่วนประมวลผลกลางไปยังอุปกรณ์อื่นๆเรียกว่า บัส (BUS)
  1. ระบบบัสแบบ พีซีไอ มีชิปเซ็ตเป็นตัวควบคุมโดยเฉพาะ ทำให้มีความเร็วในติดต่อกับอุปกรณ์ต่างๆได้สูงขึ้น ได้แก่ การ์ดเสียง การ์ดแลน
  2. ระบบบัสแบบ เอจีพี เป็นระบบบัสความเร็วสูง พัฒนาเพื่อนำมาใช้กับการ์ดแสดงผลรุ่นใหม่ เพื่อรองรับงานสื่อผสม
  3. ระบบบัสแบบพีซีไอเอกเพรส เป็นบัสที่มีความเร็วและมีอัตรารับ-ส่งข้อมูลสูง
การทำงานของระบบบัสพื้นฐาน
  1. บัสที่อยู่ (ADDRESS BUS) เมื่ออุปกรณ์ต้องการส่งหรืออ่านข้อมูล ก็จะส่งออกมาทางบัสที่อยู่ โดยกำหนดตำแหน่งหน่วยความจำบนบัสที่อยู่
  2. บัสข้อมูล (DATA BUS) ใช้สำหรับส่งข้อมูลไปยังตำแหน่งที่ระบุโดยบัสที่อยู่ และถูกควบคุมการเขียนส่งและอ่านข้อมูลโดยบัสควบคุม
  3. บัสควบคุม (CONTROL BUS) ใช้สำหรับควบคุมการติดต่อระหว่างซีพียูกับอุปกรณ์อื่นๆ ภายในคอมพิวเตอร์ เพื่อบังคัมว่าจะอ่านข้อมูลเข้ามา หรือจะส่งข้อมูลออกไป

Credits:

Created with images by kaboompics - "laptop office work" • FirmBee - "apple imac ipad" • freephotocc - "cup of coffee laptop office" • ChristianHoppe - "mac freelancer macintosh"

Made with Adobe Slate

Make your words and images move.

Get Slate

Report Abuse

If you feel that this video content violates the Adobe Terms of Use, you may report this content by filling out this quick form.

To report a Copyright Violation, please follow Section 17 in the Terms of Use.